วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทรานซิสเตอร์


ทรานซิสเตอร์ หลายๆแบบทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า คงค่าแรงดันไฟฟ้า หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทราสซิสเตอร์เปรียบได้กับวาลว์ที่ถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าขา เข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่มาจากแหล่งจ่ายแรงดัน

ทรานซิสเตอร์ หลายๆแบบทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า คงค่าแรงดันไฟฟ้า หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทราสซิสเตอร์เปรียบได้กับวาลว์ที่ถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าขา เข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่มาจากแหล่งจ่ายแรงดัน

ทรานซิสเตอร์ แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar Junction Transistor, BJTs) และทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า (Field Effect Transistors,FETs) ทรานซิสเตอร์จะมีขาเชื่อมต่อสามจุด อธิบายโดยย่อคือเมื่อมีการปรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้าที่ขาหนึ่งจะส่งผลให้ความนำ ไฟฟ้าระหว่างขาที่เหลือสูงขึ้นอันทำให้สามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามหลักทางฟิสิกส์ในการทำงานของทรานซิสเตอร์ทั้งสองแบบ(ชนิดรอยต่อ คู่และชนิดสนามไฟฟ้า)มีความแตกต่างกันอยู่มาก ในวงจรอนาลอกนั้นทรานซิสเตอร์จะถูกใช้ขยายสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณเสียง สัญญาณความถี่วิทยุ หรือควบคุมระดับแรงดัน รวมทั้งเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิชชิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ทราสซิสเตอร์ก็ยังถูกใช้ในวงจรดิจิทัล เพียงแต่ใช้งานในลักษณะการเปิด/ปิดเท่านั้น วงจรดิจิทัลเหล่านั้นได้แก่ วงจรตรรกะ (Logic gate), หน่วยความจำแบบสุ่ม (Random Access Memory, RAM) และไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นต้น


ประวัติ

ใน ปี ค.ศ. 1928 สิทธิบัตรใบแรกของหลักการทำงานของทราสซิสเตอร์ได้ถูกจดทะเบียนโดย Julius Edgar Lilienfeld ในประเทศเยอรมนีนี ต่อมาในปี ค.ศ. 1934 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Dr. Oskar Heil ได้ขึ้นทะเบียนหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า และในปี 1947 นักวิจัยชื่อ John Bardeen, Walter Brattain และ William Shockley ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์ที่เบลแล็บ พร้อมทั้งส่งเข้าสู่สายการผลิตที่ เวสเทอร์นอิเล็กทรอนิกส์ ออลเลนทาวน์ รัฐเพนซิลวาเนีย เพียงสองทศวรรษต่อจากนั้น ทรานซิสเตอร์ก็ได้เข้าไปทดแทนเทคโนโลยีหลอดสูญญากาศในเครื่องใช้ อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดและก่อให้เกิดอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ มากมายเช่น วงจรรวม และ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นต้น

คำ ว่าทรานซิสเตอร์เกิดจากการรวมคำว่า transconductance หรือ transfer และคำว่า resistor เพราะตัวอุปกรณ์นั้นทำงานคล้ายวาริสเตอร์ (Varistor) คือสามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ ดังนั้นการตั้งชื่อจึงสามารถบรรยายการทำงานในเบื้องต้นได้

ใน เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1948 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Herbert F. Matare และ Heinrich Walker ซึ่งทำงานกับบริษัทลูกของ Westinghouse Corporation ในเมืองปารีส ฝรั่งเศส ได้จดสิทธิบัตรตัวขยายสัญญาณแบบโซลิดสเตทในชื่อว่า ทรานซิสตรอน เพราะว่าทางเบลแล็บไม่ได้เปิดเผยการค้นพบจนปี ค.ศ. 1948 ทรานซิสตรอนจึงถือเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับทรานซิสเตอร์ ในขณะนั้น การค้นพบทรานซิสตรอนของ Matare เกิดจากการสังเกตการเปลี่ยนความนำไฟฟ้าในเจอมันเนียมไดโอดจากอุปกรณ์เรดาร์ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ทรานซิสตรอนนี้ถูกนำมาขายและใช้งานในบริษัทโทรศัพท์และทางทหารของประเทศ ฝรั่งเศส และในปี ค.ศ. 1953 เครื่องรับวิทยุต้นแบบที่ทำงานจากทรานซิสตรอน 4 ตัวถูกนำมาแสดงในงาน Dusseldorf Radio Fair.


ความสำคัญ

ทรานซิสเตอร์ ถือว่าเป็นหนึ่งในการประดิษฐ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เฉกเช่น การพิมพ์ รถยนต์ และโทรศัพท์ ทรานซิสเตอร์ถือว่าเป็นอุปกรณ์แบบแอ็คทีฟหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัย ใหม่ ความสำคัญของทรานซิสเตอร์ในทุกวันนี้เกิดจากการที่มันสามารถถูกผลิตขึ้นด้วย กระบวนการอัตโนมัติในจำนวนมากๆ (fabrication) ในราคาต่อชิ้นที่ต่ำ

แม้ ว่าทรานซิสเตอร์แบบตัวเดียว (Discrete Transtor)หลายล้านตัวยังถูกใช้อยู่แต่ทรานซิสเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันถูก สร้างขึ้นบนไมโครชิป (Micro chip) หรือเรียกว่าวงจรรวม พร้อมกับไดโอด ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุเพื่อประกอบกันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรอนาลอก ดิจิทัล หรือวงจรสัญญาณผสม (Mixed Signal) ถูกสร้างขึ้นบนชิปตัวเดียวกัน ต้นทุนการออกแบบและพัฒนาวงจรรวมที่ซับซ้อนนั้นสูงมากแต่เนื่องจากการผลิตที่ ละมากๆ ในระดับล้านตัวทำให้ราคาต่อหน่วยของวงจรรวมนั้นต่ำ วงจรตรรกะ (Logic Gate) ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประมาณ 20 ตัว ในขณะที่หน่วยประมวลผล(Microprocessor) ล่าสุดของปี ค.ศ. 2005 ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ราว 289 ล้านตัว

เนื่อง ด้วนราคาที่ถูก ความยืดหยุ่นในและความเชื่อถือได้ในการทำงาน ทรานซิสเตอร์จึงเปลี่ยบเหมือนอุปกรณ์ครอบจักรวาลในงานที่ไม่ใช่งานกล เช่น คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล เป็นต้น วงจรที่ทำงานด้วยทรานซิสเตอร์ยังได้เข้ามาทดแทนอุปกรณ์เชิงกล-ไฟฟ้า (Electromechanical) สำหรับงานควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องจักรต่างๆ เพราะมันมีราคาถูกกว่าและการใช้วงจรรวมสำเร็จรูปร่วมกับการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์นั้นมีประสิทธิภาพในใช้งานเป็นระบบควบคุมดีกว่าการใช้อุปกรณ์ เชิงกล

เนื่องด้วยราคาที่ถูก ของทรานซิสเตอร์และการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลที่เกิดขึ้นต่อมาก่อให้ เกิดแนวโน้มการสร้างข้อมูลในเชิงเลข (Digitize information) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มากด้วยความสามารถในการค้นหา จัดเรียงและประมวลผลข้อมูลเชิงเลข และทำให้มีความพยายามมากมายเพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างข้อมูลแบบดิจิทัล สื่อหลายๆ ประเภทในปัจจุบันถูกส่งผ่านรูปแบบของดิจิทัลโดยนำมาแปลงและนำเสนอในรูปแบบอ นาลอกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การปฏิวัติทางดิจิทัลเช่นนี้ส่งผลกระทบสื่อเช่น โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์


ประเภทของทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar junction transistor)
ทรานซิสเตอร์ แบบรอยต่อคู่ (BJT) เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง มันเป็นอุปกรณ์สามขั้วต่อถูกสร้างขึ้นโดยวัสดุสารกึ่งตัวนำที่มีการเจือสาร และอาจจะมีการใช้ในการขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สวิทชิ่ง ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ถูกตั้งขึ้นมาตามชื่อของมันเนื่องจากช่องการนำ สัญญาณหลักมีการใช้ทั้งอิเล็กตรอนและโฮลเพื่อนำกระแสไฟฟ้าหลัก


ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า (Field-effect transistor)
ทรานซิสเตอร์ แบบสนามไฟฟ้า(FET) มีขาต่อสามขา คือ ขา เดรน(drain) เกท(gate) ซอร์ส(source) หลักการทำงานแตกต่างจากทรานซิสเตอร์แบบหัวต่อไบโพลาร์(BJT) นั่นคืออาศัยสนามไฟฟ้าในการสร้างช่องนำกระแส(channel) เพื่อให้เกิดการนำกระแสของตัวทรานซิสเตอร์ ในแง่ของการนำกระแส ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้าและแบบหัวต่อไบโพลาร์มีลักษณะของกระแสไฟฟ้าที่ไหล ผ่านอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน นั่นคือกระแสในทรานซิสเตอร์แบบหัวต่อไบโพลาร์จะเป็นกระแสที่เกิดจากพาหะส่วน น้อย(minor carrier) แต่กระแสในทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าจะเกิดจากพาหะส่วนมาก(major carrier)


ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้าฟ้าแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ

  • JFET
  • MESFET
  • MOSFET ซึ่งแบ่งเป็นสองแบบคือ แบบ depletion และ enhancement
ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้าประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุดในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คือ MOSFET


วัสดุสารกึ่งตัวในที่ใช้กับทรานซิสเตอร์
ออกไซด์ของซิลิกอน
ออกไซด์ของเจอเมเนียม


จุดเด่นของทรานซิสเตอร์ที่เหนือกว่าหลอดสูญญากาศ
ทรานซิสเตอร์มีความร้อนต่ำกว่า และเล็กกว่า จึงทำให้ประหยัดเนื้อที่ของวงจรทำให้อุปกรณ์ในปัจจุบันมีขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

a simple guide to opamp สอนความรู้ opamp แบบบ้านๆ

เนื่องจากนัก diy หูฟังก็คงต้องใช้ opamp กันบ้างไม่มากก็น้อย แต่ทีนี้บางท่านก็ไม่มีพื้นฐาณ ต่อๆวงจรกันไปตามที่เค้าต่อมางั้นแหละ บางคนก็ไม่รู้เลยว่า opamp คืออะไร ใช้ทำอะไร
ผมเลยจะทำการเขียนบทความ สอนกันเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย แต่ในระดับเบสิคบ้านๆพอให้รู้ว่า opamp คืออะไร ใช้งานมันยังไง และจะเลือกซื้อดูสเปกมันที่ตรงไหนน่ะครับ ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้สอนเจาะลึกมาก เพราะนอกจากผมจะไม่ได้ตังค่าสอนแล้วผมก็ไม่ได้รู้ลึกระดับนักออกแบบ opamp หรอกครับ

ตอนแรกคิดว่าจะสอน tr ก่อน แต่เห็นว่ามันยากกว่า และใช้กันน้อย ก็เลยเริ่มกันที่ opamp กันก่อนเนี่ยแหละ

เริ่มจาก opamp คือ Operational amplifier แปลว่าภาคขยายที่ใช้งานได้
มันก็เป็นวงจรที่ประกอบจาก Transistor และ fet ฯลฯ มันจะเป็นไงมาไงสร้างยังไง ก็ลองเซิซกันดูนะครับ อย่างใน http://en.wikipedia.org/wiki/Operational_amplifier อันนี้ก็เข้าท่าดีเหมือนกัน

opamp มีหลายรูปร่างหน้าตา 8 ขา 16 ขา แบบกระป๋อง แบบ surface mount โอยสารพัด แต่ที่นิยมใช้กันใน
วงการ diy รู้สึกจะเป็นแบบ dip 8 ขาครับ

opamp มีหลายรูปร่างหน้าตา 8 ขา 16 ขา แบบกระป๋อง แบบ surface mount โอยสารพัด แต่ที่นิยมใช้กันในวงการ diy รู้สึกจะเป็นแบบ dip 8 ขาครับ

ข้างในแบบ 8 ขาเนี่ยก็มีทั้งแบบ opamp เดี่ยว คือมี opamp อยู่ข้างในตัวเดียว แบบแบบ opamp คู่ มี opamp ข้างในสองตัว

เรากลับมาที่คอนเซ็บแบบบ้านๆ คือมันมายังไงไม่ต้องสนใจ มาสนใจที่ว่าจะใช้งานมันยังไงกันดีกว่า
opamp ทำงานโดย วัดความแตกต่างระหว่าง ขา in+ กับ in- แล้วเอามาคูณด้วยอัตตราขยาย ซึ่งโดยปรกติถ้าไม่มีการป้อนกลับ opamp จะขยายได้เกิน 100 เท่าจนถึงหลายหมื่นเท่ากันเลย โดยเมื่อสัญญาณเป็น + เข้ามาที่ ขา + มันก็จะออกเป็น + ในขณะที่ถ้า + เข้ามาที่ขา - มันก็จะออกมาเป็นลบ เรียกว่ามันกลับเฟสกับอินพุท

ที นี้จะเห็นว่าอัตตราขยายมันจะสูงเกินไปที่เราจะเอามาใช้ขยายสัญญาณ ก็เลยต้องมีการป้อนกลับขึ้นเพื่อควบคุมอัตตราขยายของ opamp โดยเอาสัญญาณที่ขาออก ป้อนกลับมาเข้าที่ขา - เพื่อที่เวลาสัญญาณที่ output มันใหญ่ มันก็จะป้อนกลับมาใหญพอผ่านขาลบมันก็จะไปหักล้างกันจนสัญญาณเล็กลง
ถ้าคิดแบบง่ายๆจะคล้ายกับเราเปิดก๊อกน้ำ เราก็จะคอยดูว่าน้ำมันออกมามากไหม พอเห็นว่าน้ำมันมากเกินเราก็บิดก๊อกให้น้ำไหลน้อยลง แต่ถ้าน้ำมันน้อยเราก็บิดให้ไหลมากขึ้น ซึ่งก็คล้ายๆกัน โดยตัว opamp มันจะดูจากสัญญาณ output และทำการควบคุมตัวมันเองโดยอัตโนมัติครับ

จริงๆแล้วการต่อ opamp มีหลากหลาย แต่ในที่นี้เรามาคุยกันถึงการต่อเพื่อทำแอมป์หูฟังกัน ซึ่งก็ทำได้สองแบบคือ inverting และ noninverting แบบอินเวิทคือเข้ามาแล้วรูปคลื่นขาออกจะเป็นตรงกันข้ามกับที่เข้ามา ส่วน noninvert คือเข้ามายังไงออกไปยังงั้น

วงจรแบบแรกคือแบบ invert แบบนี้ไม่ค่อยมีคนทำแอมป์หูฟังเท่าไร เพราะเสียงที่ได้จะกลับด้านกับที่เข้ามา และอินพุทอิมพีแดนซ์จะต่ำ ทำให้ต้องใช้ซอสที่แรงมากกว่า และอาจจะทำให้เพี้ยนมากขึ้น



โดยวงจร แบบนี้จะมีอินพุทอิมพีแดนซ์เท่ากับ Rin โดยอัตตราขยายของวงจรจะเท่ากับ Rfeedback/Rin คิดง่ายๆว่า สัญญาณเข้ามาเท่าไร ก็จะถูกสัญญาณที่ป้อนกลับมาผ่าน Rfeedback มาหารออกครับ เช่นในรูป Rin=1K หาร Rf 10K ก็จะได้อัตตราขยายเท่ากับ 10 เท่า
จะเห็นได้ว่าตัว Rin จะใช้ค่ามากๆไม่ได้ เพราะถ้า Rin มาก Rf ก็จะต้องยิ่งมากขึ้นตามอัตตราขยายที่เราต้องการใช้ ทีนี้พอ Rin น้อยอินพุทอิมพีแดนซ์เราก็น้อยตาม ซอสก็ต้องขับกระแสมากขึ้น Cinput ก็ต้องใช้ค่ามากขึ้น แถมยังได้สัญญาณกลับด้านกับที่เข้ามา ทำให้วงจรนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

ต่อมาก็มาถึงวงจรยอดนิยม noninverting (C-moy) ซึ่ง C-moy นี้มาจากชื่อคนที่ทำวงจรนี้ออกมาและวิเคราะห์เผยแพร่วิธีทำจนคนนิยมและเรียก กันติดปากเพื่อให้เกียรติเขาครับ อ่านว่า ซีมอยนะครับ ไม่ใช่ชม้อย



วงจร แบบนี้สัญญาณเข้ามาก็จะเข้าที่ขา opamp เลย ซึ่งที่ขา opamp นี้มีค่าความต้านทานสูงมากๆซึ่งก็แล้วแต่เบอร์ opamp โดยถ้าใช้ opamp ทั่วๆไปก็จะสูงเกิน 1M ขึ้นไป ทีนี้พอค่ามันสูงไปสัญญาณรบกวนก็จะเข้ามากวนง่าย เราก็เลยใส่ R3 เพิ่มเข้าไป เพื่อให้ค่า input impedance ของวงจรลดลง โดยตัวนี้ถ้าใช้ค่ามากก็สัญญาณรบกวนเยอะ ถ้าใช้ค่าน้อยก็จะกินกระแสซอสมาก ต้องใช้ C input ตัวโตอีก โดยปรกติค่าที่นิยมใช้กันก็ราวๆ 200K-500K

อัต ตราขยายก็จะใช้สูตร 1+Rf/Ri เช่นในรูป Ri 1K Rf 10K ก็จะได้อัตตราขยาย 11 เท่า สัญญาณที่ได้จะเหมือนกับที่เข้ามา คือไม่กลับเฟส แค่ขยายใหญ่ขึ้นเท่านั้นเอง แต่วงจรนี้มีข้อสังเกตุอยู่อย่างนึง คือสัญญาณที่ป้อนกลับ จะวิ่งผ่าน Rf และ Ri ลงกราวด์ การเลือกใช้ค่า R ตรงนี้ถ้าใช้ค่าน้อย เช่น 10K/1K แบบนี้ก็จะกินกระแสมากกว่า 100K/10K ซึ่งก็มีข้อดีข้อเสีย คือถ้าใช้ค่าน้อยกระแสไหลมากสัญญาณรบกวนก็จะต่ำแต่มันก็จะกินไฟ แต่ถ้าใช้ค่ามากกินไฟน้อยกว่าแต่สัญญาณรบกวนก็จะมากกว่าตามครับ

ต่อมาเราก็โดดมาคุยกันเรื่อง ดูสเปก opamp นั้นดูกันยังไง หลายคนอาจจะเลือก opamp กันมาใช้กันแบบใครว่าดีก็ซื้อมาใช้ บางทีก็ไม่ได้เข้ากับวงจรเราก็มี ทีนี้ผมก็จะสอนวิธีดูสเปก opamp กันแบบคร่าวๆ จะได้รู้กันว่า สเปกตัวไหนมันบอกอะไรกับเราบ้าง

เริ่มจากเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เราก็ไปโหลดดาต้าชีทกันมาสักแผ่นนึง โหลดได้จากที่นี่ครับ เอาของ bb ที่มีขนาด 1M นะครับ

http://www.datasheetcatalog.com/datasheets_pdf/O/P/A/2/OPA2132.shtml

หน้าแรก

FEATURES
1.FET INPUT: IB = 50pA max
2.WIDE BANDWIDTH: 8MHz
3.HIGH SLEW RATE: 20V/ms
4.LOW NOISE: 8nV/?Hz (1kHz)
5. LOW DISTORTION: 0.00008%
6.HIGH OPEN-LOOP GAIN: 130dB (600W load)
7.WIDE SUPPLY RANGE: ?2.5 to ?18V
8.LOW OFFSET VOLTAGE: 500mV max

อันนี้เขาโฆษณาข้อดีของ opamp ตัวนี้ครับ

1. อินพุทเป็นเฟท ทำให้กินกระแสน้อย การกินกระแสน้อยของ opamp นอกจากจะมีข้อดีทำให้ดึงกระแสจากต้นทางไม่มากแล้วยังมีผลทำให้ offset ต่ำอีกด้วย ส่วนท่านที่ยังไม่รู้ว่า offset คืออะไรเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังทีหลังครับ

2. แบนด์วิธกว้าง หมายถึงว่า opamp ตัวนี้มีช่วงกว้างในการขยายสัญญาณมาก โดยตัวนี้สามารถขยายได้ถึง 8 MHz แต่อย่าให้สเปกแหกตาท่าน จริงๆแล้วสเปกตัวนี้ยังขึ้นกับกระแสที่มันต้องจ่ายให้กับโหลดด้วย โดยถ้าต้องจ่ายกระแสขับโหลดมากๆมันก็จะขยายได้ที่ความถี่ต่ำลง หรือถ้าสัญญาณมีขยาดใหญ่ เช่นต้องสวิง +-10V มันก็จะได้ที่ความถี่ต่ำลง

อย่าง ne5532 บอกว่า small signal bandwidth 10MHz แต่ปรากฎว่า power bandwidth กลับทำได้แค่ที่ 100KHz เท่านั้น ทำให้เห็นว่าถ้าเราใช้ ne5532 ไปขยายสัญญาณเล็กๆอย่างใน DAC มันเป็น opamp เทพเลยทีเดียว ดีกว่า opa2132 ที่แพงกว่าเป็นสิบเท่า แต่ถ้าใช้งานกับสัญญาณใหญ่ๆมันกลับสู้ 2132 ไม่ได้

3.high slewrate อธิบายง่ายๆคือ opamp ทำงานได้ไว สมมุติว่าสัญญาณมันต้องสวิงจาก 0 ไปถึง 10 V ถ้า opamp ที่ช้ามันอาจจะใช้เวลานานกว่ามันจะสวิงไปถึง พออีตอนลงก็ใช้เวลานานอีกกว่าจะลง ทำให้ได้สัญญาณที่ไม่เหมือนต้นฉบับนัก แต่กับ opamp ที่ไว พอต้องสวิงมันก็ขึ้นลงได้ปุ๊บปั๊บตามที่ต้องการ ค่านี้ยิ่งสูงจะยิ่งดีครับ อย่างตัวนี้บอกว่า 20V/mS หมายความว่า สัญญาณวิ่งจาก 0-20V เนี่ยมันใช้เวลา 1/1000 วินาที เร็วมากๆ

ค่านี้จากการลองฟังพบว่ายิ่งสูงเสียงที่ได้ก็จะดุดันกระแทกกระทั้นมากขึ้น สดกว่าตัวที่มีค่าน้อย

4.สัญญาณรบกวนต่ำ ยิ่งน้อยก็ยิ่งดี สัญญาณรบกวนนี้ถ้าตัวไหนมากเวลาขยายเสียงออกมาเราจะได้ยินเป็นเสียงซ่า..นั่นเอง

5.ความเพี้ยนต่ำ ค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดี

6. อัตตราขยาย open loop สูง หมายความว่าถ้าไม่มีการป้อนกลับจะมีอัตตราขยายได้สูงมาก แสดงให้เห็นว่า opamp ตัวนี้มีความสามารถในการขยายสัญญาณที่ดีนั่นเอง

7.ใช้ไฟเลี้ยงได้กว้าง ...อันนี้สำคัญ ไว้จะอธิบายรายละเอียดอีกทีครับ

8. offset ต่ำ ค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดี หมายถึงว่าเมื่อไม่มีสัญญาณเข้าแล้วก็จะไม่มีไฟรั่วออกไปที่สัญญาณขาออก

ทีนี้มาเจาะลึกกันในตารางของสเปกมันกันครับ เอาเฉพาะตัวที่สำคัญๆนะครับ

มาต่อ หลังจากตอนที่แล้วอธิบายค่าที่เขาโฆษณาไว้แล้วรู้สึกมันยุ่งเหยิง และเข้าใจยากไปนิด เอาเป็นว่าเขียนใหม่

โดย จะเริ่มกันจากคำถามที่คนซื้อ opamp มักจะถามกันว่า จะรู้ได้ไงว่า opamp ตัวไหนดีกว่าตัวไหน และจะมิกซ์กันไปกับคำถามที่ว่าจะรู้ได้ยังไงว่า opamp ตัวใหม่จะใส่กับวงจรเดิมเราได้ โดยสุดท้ายจะสรุปย่ออีกทีตอนนี้อ่านกันไปก่อนครับ

กับคำถามที่ว่าถ้า จะซื้อ opamp มาใช้กับวงจรเราสักตัว เราจะดูดาต้าชีทตรงไหนบ้างเพื่อใช้เลือกซื้อ ซึ่งในที่นี้ผมจะบอกให้เฉพาะสเปกหลักๆที่ใช้ในการเลือกซื้อ จะได้ไม่ต้องซื้อกันมามั่วๆ หรือซื้อกันมาแบบ ของแพงต้องดีกว่าอะไรทำนองนั้น

แต่จะไม่ได้อธิบายทุกค่าไปนะครับ เพราะเดี๋ยวมันจะยากไปและสับสนแบบหน้าที่แล้วครับ

เริ่มกันด้วยภาพ โดยจะตัดจากดาต้าชีทที่ผมมีลิ้งให้โหลดในหน้าที่แล้วนะครับ ไปโหลดกันมาเวลาอธิบายจะได้มีประกอบ


เริ่ม จากตัวแรก noise คือสัญญาณรบกวน ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วครับ ตัวนี้ยิ่งน้อยจะยิ่งดี ทีนี้จะรู้ได้ยังไงล่ะว่ามันน้อย อันนี้ก็คงต้องเทียบกับ opamp เบอร์อื่นๆครับ ถ้าตัวไหนมีค่านี้น้อยกว่าก็เลือกตัวนั้น

ต่อมาจุดที่ 1 input voltage range คือมันทนแรงดันอินพุทได้เท่าไร ตรงนี้ต้องดูในบางเบอร์ คือว่าบางเบอร์มันทนได้ไม่สูงนักถ้าเราเอามาใช้กับสัญญาณอินพุทสูงๆมันจะพัง ได้ แต่โดยปรกติเราก็แค่ดูๆไว้เลือกเอาตัวที่ทนได้เกิน 3-5V น่าจะพอ แต่มีอีกจุดนึงที่น่าสนใจคือมันจะทนแรงดันอินพุท ได้ไม่เกิน +V-2.5 และ -V+2.5 ทีนี้ถ้าเราใช้ไฟเลี้ยงในวงจรต่ำ เช่นใช้ไฟเลี้ยงจากแบต 9V แล้วแบ่งครึ่ง เป็น+-4.5 เราก็จะได้ว่ามันทนแรงดันอินพุทได้ไม่เกิน +-2V ซึ่งถ้าเราเอาไปรับสัญญาณแรงๆ opamp อาจจะเสียได้ครับ



จุด ที่ 2 frequency responce ช่องนี้จะมีค่าหลายค่าและค่อนข้างจะเทคนิคซ่อนเยอะ แต่คร่าวๆก็คือ ค่ายิ่งมากจะยิ่งดี หมายถึง opamp ตัวนี้จะทำงานได้ไว และตอบสนองความถี่สูงได้ดีกว่า แต่ต้องดูว่าเราชอบแนวเสียงแบบไหนด้วย เพราะบางทีถ้ามันเร็วมากไปเสียงมันก็จะออกแนวดุดัน อาจจะไม่ถูกหูคนชอบนุ่มนวลได้ครับ

ทีนี้เรามาดูรายละเอียดย่อยๆในช่องนี้ กัน

ประกอบ ด้วย gain bandwidth product ซึ่งหมายถึงถ้าเราเซ็ท opamp ให้มีอัตตราขยายเท่ากับ 1 มันจะทำงานได้เร็วสุดที่ 8MHz ซึ่งตรงนี้หลายคนจะโดนสเปกหลอก คือมันบอกว่าได้ 8M ซึ่งเหลือเฟือสำหรับงาน audio เอาเข้าจริงพอเราต่อวงจรให้เกนสูงขึ้น เช่น 5 เท่า 10 เท่า มันก็จะยิ่งตอบสนองได้น้อยลงครับ ซึ่งจะน้อยลงแค่ไหนก็ต้องไปดูกร๊าฟซึ่งเขาจะมีให้ดู(ในบางดาต้าชีทก็ไม่มี ให้ดู) และที่เจอบ่อยๆคือทำงานได้แบบในตารางข้างล่างนี้


อัน นี้เป็นของ opamp ne5532 ซึ่งจะเห็นว่ามันทำ gain bandwidth ได้ถึง 10M opamp ตัวละ 8 บาทเนี่ยนะ เทพกว่า opa3132 ตัวละ 2xx อีกเหรอ จะว่างั้นมันก็ใช่ครับ แต่มันก็เฉพาะงานอีก เพราะตามลูกศรอันล่าง มันจะบอกว่า power bandwidth แค่ 100-140K เท่านั้นเองครับ หมายความว่าถ้าเราใช้มันกับงานที่ไม่ต้องขับโหลดโดยตรง เช่นทำเป็นปรีแล้วมี buffer ตามหลัง หรือทำเป็น DAC i/V ตัวนี้จะเทพในราคาถูกๆได้ แต่ถ้าเราเอามันไปขับหูฟังตรงๆล่ะก็มันจะห่วยลงไปทันตาเห็นเลยครับ

กลับ ไปดูตารางในช่อง 2 อันนี้ยังมีค่าสำคัญอีกสองค่าคือ slew rate ซึ่งตัวนี้ถ้าว่ากันตามสเปก ยิ่งสูงจะยิ่งดี แต่เอาเข้าจริง ยิ่งสูงเสียงจะยิ่งคมและดุดันมากขึ้น ก็เลือกเอาตามชอบใจเลยครับ ถ้ารู้สึกว่าตัวที่ใช้เสียงมันฟังล้าหูเร็วก็หาตัวที่ slew rate ต่ำกว่ามาใช้ก็ไม่ผิดครับ

ส่วนอีกค่านึงคือ total harmonic distortion หรือ THD ค่านี้ยิ่งน้อยก็หมายความว่าความเพี้ยนของสัญญาณก็จะยิ่งน้อย เรียกว่าเลือกน้อยไว้ก่อนได้เปรียบ แต่ส่วนตัวแล้วไม่สามารถฟังออกระหว่าง opamp THD 0.001% กับ 0.0001% ได้ครับ สเปกก็เลยมีเอาไว้โม้เท่านั้นแหละ อิอิ


ที่มา :: nopphong ณ headphoneresearch.com

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (อื่นๆ)

อิมแพค ( Impact )

จริงๆคำๆนี้ ถ้าใช้กับหูฟังต้องเทียบกับเสียงเบสจะเห็นภาพได้ชัดที่สุดค่ะ คือ จริงๆแล้วความหมายของ impact หมายถึง ต้นเสียงแรกที่มาถึงหูของเราน่ะค่ะ ฟังแล้วเหมือนจะงงๆ ปรกติในวงการนักเล่นเครื่องเสียงเค้ามักจะใช้คำว่า "หัวเสียง" ค่ะ ซึ่ง "หัวเสียง" มีส่วนสำคัญในการจำแนกชิ้นดนตรีๆมากเลยค่ะ เพราะขนาดของ "หัวเสียง" หรือ impact ของแต่ละชิ้นดนตรีจะต้องไม่เท่ากันค่ะ มวลที่ได้ต้องต่างกัน เช่น เสียงกระแทกกลอง หัวเสียงต้องเป็นมวลที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าการเคาะแฉ ซึ่งหัวเสียงของกลองจะต้องมาถึงหูเราช้ากว่าแฉ เพราะเป็นเสียงโทนต่ำ ถ้าเกิดมาถึงไวกว่า มิติเสียงดนตรีจะเพี้ยนทันทีเลยค่ะ และถ้าขนาดของหัวเสียงเท่ากันไปหมด ก็จะทำให้ชิ้นดนตรีมีสัดส่วนพิลึกทันทีเลยค่ะ จะขาดความเป็นธรรมชาติลงไปในทันที

ความใส ( Transparency )

ความใสก็คือความใสค่ะ อ๊ะๆ อย่าหาว่ากวนนะคะ เพราะในทางเครื่องเสียงแล้ว Tranparency จะหมายถึงความใสที่ลำโพงสร้างขึ้นมา ทำให้สามารถมองทะลุผ่านหลังแผงดิฟิวเซอร์เข้าไปได้เลยค่ะ เสมือนว่ามีเวทีจำลองตั้งอยู่ในดีฟิวเซอร์จนมองเห็น Image ชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนเราไปชมคอนเสิร์ตจริงๆทีเดียวค่ะ ถ้าในทางหูฟังก็หมายถึงหูฟังนั้น ใส จนจับ image ได้ชัดน่ะค่ะ ไม่มีอาการขุ่นมัวแบบมีม่านบางๆมีบังๆจนจับ image ได้ไม่ชัดเจนเลยน่ะค่ะ

Airy ( Ambient )

จริงๆ Airy กับ Ambient มีความหมายคล้ายๆกันค่ะ ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว Ambient จะหมายถึง การสะท้อนของเสียงที่เกิดตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น เวลาอยู่ในห้องแคบๆแล้วเราพูดออกมา เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจะถูกเรียกว่า Ambient ค่ะ ลักษณะของเสียงเกิดขึ้นจะมีทั้ง "เสียงรีเวิร์บ" และ " เสียงเอคโค่" ค่ะ

ถ้าจะให้อธิบายกันให้ละเอียด ลักษณะแบบ airy หรือ ambient ก็คือความรู้สึกที่เหมือนมีเสียงก้องสะท้อนเบาๆตามลักษณะอะคูสติกของห้อง เสียงเหล่านั้นจะทำให้เรารู้สึกว่ามันเปิดกว้าง โล่ง โปร่ง นั่นแหละค่ะ ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นจะให้ความรู้สึกว่ามีมวลอากาศห่อหุ้มอยู่ ถ้าไม่เคยฟังอาจจะนึกภาพตามไม่ออกน่ะค่ะ คือ อย่างจังหวะการสีไวโอลีน ถ้าห้องมีอะคูสติคที่ดี และมีการ set ลำโพงที่ได้ตำแหน่งถูกต้อง เราจะรับความรู้สึกได้เลยว่า นักดนตรีที่กำลังสีไวโอลีนตรงหน้าเหมือนมีมวลอากาศห่อหุ้มและลื่นไหลไปตาม จังหวะของการสี

ลักษณะเหล่านั้นเรามักเรียกกันว่า ชิ้นดนตรีมีแอมเบี๊ยนต์ห่อหุ้มอยู่

นอก จากนี้ ถ้าพูดถึง airy ก็จะหมายถึงชิ้นดนตรีที่ให้ความรู้สึกเปิดโล่ง ให้อารมณ์เหมือนมีอากาศรอดผ่านไหลเวียนในแต่ละชิ้นดนตรีค่ะ การมี airy หรือ ambient จะทำให้เราสัมผัสชิ้นดนตรีได้ชัดเจนมากขึ้น และยังให้ความรู้สึกถึงชีวิตชีวา หรือ live ของดนตรีอีกด้วยค่ะ

Blassy

ลักษณะของเสียงที่ออกจะเน้นไปทางเสียงด้านความถี่ต่ำมากกว่าเสียงกลางและ เสียงแหลม ค่ะ เวลาฟังจะรู้สึกว่าเสียงทุ้มๆจะดังล้ำหน้าเสียงอื่นๆเลยค่ะ ตัวอย่างของ Blassy ก็จะมีหูฟังของ Soken รุ่น AS-800 ค่ะ หรือไม่ก็การปรับ EQ เป็น V-Shape น่ะค่ะ

Blanketed

อันนี้หมายถึงเสียงที่อับ ทึบ เสียงแหลมโดนเกลาจนมน ไม่ใสกังวาล คล้ายๆกับเอาผ้าหนาๆมาบังลำโพงไว้ทำให้เสียงแหลมโดนบดบังซะเสียรูปเลยน่ะค่ะ

Bloated

เป็นอาการที่จะได้ยินก็ต่อเมื่อมีการให้ปริมาณของเสียงย่านความถี่ต่ำใน ช่วงของ Mid-Bass ( ช่วงประมาณ 250Hz ค่ะ ) มากจนเกินไป ทำให้เกิดเสียงทุ้มที่ไม่กระชับฉับไว เก็บตัวช้า เสียงจะสั่นไม่นิ่ง จนรู้สึกว่าเสียงดนตรีในย่านนั้นจะเบลอไม่คม

Blurred

เป็นอาการที่ตอบสนองความเร็วฉับพลันได้ไม่ดีค่ะ เสียงจะพร่าเลือน การโฟกัสมัวไม่ตรง ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นจะขาดความคมชัด เสียงกลางแทบจะจับไม่ได้เลยค่ะเพราะมันจะมัวมาก ( จริงๆไม่เห็นต้องอธิบายเลยเนอะค่ะ เบลอ นี่ใครๆก็รู้ ฮิฮิ )

Boomy

อันนี้จะเหมือน Bloated ค่ะ เพียงแต่จะเกิดขึ้นในย่านความถี่ต่ำกว่า Bloated ค่ะ คือจะเกิดในช่วง Lower-Bass ค่ะ ( ประมาณช่วง 125Hz) ถ้ามีทั้ง Boomy และ Bloated เกิดขึ้นพร้อมกัน เราจะเรียกว่า บวม อืด ค่ะ

Boxy

ส่วนมากจะเกิดกับลำโพงค่ะ เพราะลำโพงบางตัวออกแบบภายในไว้ไม่ดี ทำให้มีเสียงสะท้อนก้องภายในตู้ลำโพงออกมาปนกับเสียงดนตรี ทำให้เวลาฟังแล้วรู้สึกเสียงดังอู้ๆ ชวนให้หงุดหงิดค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (THD)

THD ( Total Harmonic Distortion )

ตัว THD จะหมายถึง ความเพี้ยนของกระแสสัญญานโดยรวมที่เกิดขึ้นทั้งระบบค่ะ โดยมากจะเป็นการวัดในภาคของ Output หรือกระแสขาออกนั่นเองค่ะ

ค่า THD มีผลสำคัญในเรื่องของเครื่องเสียงเป็นอย่างมากค่ะ ยิ่งค่า THD สูง ก็จะให้ความเพี้ยนของสัญญานเสียงด้วยเช่นเดียวกัน อัตราค่าของ THD จะถูกระบุไว้เป็นเปอร์เซนต์ และ อัตราของ THD ที่วงการระดับ Hi-Fi สามารถยอมรับได้จะอยู่ที่ 0.08% ลงไปค่ะ

ทีนี้ความสำคัญของ THD อยู่ตรงไหน ?

คืออย่างงี้ค่ะ โดยปรกติแล้ว กำลัง WATT นั้น โดยทั่วไปมักจะวัดค่ากันที่ 8 Ohms เพราะเป็นค่าความต้านทานของลำโพงในระดับที่ขายกันทั่วๆไปค่ะ เรียกว่าเป็นค่ากลางได้เลยค่ะ ทีนี้ ปัญหาก็มามีอยู่ว่า คนเราเวลาจะซื้อ amplifier เนี่ย ก็จะมองกันที่กำลังขับกันไว้ก่อนเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งขับได้สูงๆคนก็จะยิ่งเลือกไว้ก่อน เพราะกำลังขับสูงๆจะอัด Dynamic-Range ได้มากกว่าพวกกำลังขับต่ำๆ แล้วยิ่งได้เจอกับลำโพงโหดๆที่ขับยากๆอย่างลำโพงที่มีอัตรา Sensitivity ที่ประมาณ 80 กว่าๆ แล้วยังเป็นลำโพงแบบ Accoustic Suspension ที่เป็นระบบตู้ปิดอีก ทำให้กินกำลังวัตต์ค่อนข้างมาก คนเลยพากันซื้อ Amp ที่ให้กำลังขับสูงๆไว้ก่อนค่ะ

ทีนี้เจอแบบนี้เข้าไป พวกคนขายก็ย่อมขายของไม่ได้ ครั้นจะโกงบอกเลขกำลังวัตต์มั่วๆ ก็จะโดนประนามหยามเหยียดให้เสียน้ำใจจนขายของไม่ได้ต่อไป ดังนั้น เค้าจะใช้วิธีเลี่ยงง่ายๆ โดยการแสดงค่าตัวเลขกำลังวัตต์ที่ระดับ Ohms ต่ำลง เช่น

Amp ของ Magola Stat ปรกติให้กำลัง 20 Watts Perchannel ที่ 8 โอห์ม ทางนั้นก็จะเปลี่ยน SPEC มาเป็น

Amp ที่ให้กำลังวัตต์ 40 Watts (RMS )โดยอาจจะเติมตัวเลขๆที่มุมซองว่า at 4 ohms (RMS ) หรืออาจจะน่าเกลียดโดยเปลี่ยนตัวเลขเป็น 70 Watts (RMS) แทน แล้วเปลี่ยนตัวเลขมุมซองใหม่เป็น at 2 Ohms แทนค่ะ

ทีนี้ แค่นี้ยังไม่พอค่ะ เพราะเริ่มมีคนจับได้ว่าแกเล่นแอบๆใส่ Ohms ต่ำๆ แกก็เปลี่ยนเทนิคใหม่ค่ะ โดยการเปลี่ยนวิธีการโชว์ตัวเลขใหม่เป็น

Amp Magola Stat ให้กำลังขับที่ 100 Watts Perchannel ที่ 8 โอห์มด้วย แต่ มี 10% THD แถมท้าย

หมายความว่า ถ้าแอมป์ตัวนี้ส่งกำลังขับไปที่ 100 Watts เมื่อไหร่ สัญญานเสียงจะเพี้ยนทันที 10% ค่ะ กลายเป็นว่าเป็นวัตต์หลอกตากันอีกแล้ว ซึ่ง อัตรา THD สูงๆแบบนี้โดยมากจะเห็นในเครื่องเล่นแบบ Mini Component ที่ชอบใส่ค่าของ PMPO หรือ วัตต์เทียมนั่นแหละค่ะ

ดังนั้นเวลาเลือก ชุดเครื่องเสียงแต่ละครั้ง อย่าลืมดูค่า THD ที่เสมอนะคะ และดูกำลัง วัตต์ต่อ Channel ที่วัดค่ากันที่ 8 ohms ด้วยค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Harmonic)

Harmonic

ฮาร์โมนิคที่ใช้กันเยอะแยะนี่มันคืออะไรกันแน่น้า คืออย่างงี้ค่ะ เวลาเล่นดนตรีเนี่ย จะมีหลายๆครั้งที่มีชิ้นดนตรีที่เล่นตัวโน้ตเดียวกัน หรือ มีนักร้องสองคนขึ้นไป ที่เสียงร้องไปอยู่ที่ย่านความถี่เดียวกัน แต่ เราสามารถแยกออกได้ว่าเป็นเสียงใครร้องบ้าง และรับรู้ได้ว่าชิ้นดนตรีนั้นๆ เป็นเชลโล่ หรือ ไวโอลีน ที่เรียกกันว่า "โอเวอร์โทน" นั่นก็เพราะผลพวงจาก ฮาร์โมนิค เนี่ยแหละค่ะ

ฮาร์โมนิคนั้น จริงๆมันก็คือ ผลคูณของเลขจำนวนเต็มๆเลยของฮาร์โมนิคที่หนึ่ง (1st Harmonic ) หรืออีกชื่อที่เรียกกันว่า Fundamental Harmonic ที่หมายถึงความถี่พื้นฐานนั่นเองค่ะ ความถี่พื้นฐานก็พวก 2000Hz , 250Hz น่ะค่ะ ทีนี้พอมี Harmonic เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเราพูดถึง Harmonic ที่สอง มันก็จะต้องกลายเป็น

ความถี่พื้นฐาน X 2 เช่น 2000hz X 2 = 4000hz เป็นต้น

พอ เป็น Harmonic ที่สามก็จะกลายเป็น X ด้วย 3 และจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆใน Harmonic ที่สี่ ห้า... ทีนี่เมื่อมีการคูณฮาร์โมนิคสูงขึ้นไปเรื่อยๆก็จะทำให้แรงต่อสัญญาน หรือความแรงต่อสัญญาน ( Amplitude ) ลดลงจนเริ่มจับสัญญานเสียงของ Harmonic ที่ไปไกลๆเรื่อยๆไม่ได้

ดังนั้นถ้าจะให้สรุปสั้นๆ Harmonic ก็คือ สัญญานเสียงที่อยู่ในรูป Sinewave ให้เราตีค่าเป็นความถี่ได้นั่นเองค่ะ


ส่วน Distortion จะหมายถึงความเพี้ยนของสัญญานของกระแสค่ะ

ดังนั้น

Harmonic Distortion เลยจะหมายถึง อัตราความเพี้ยนของกระแสสัญญานเสียงค่ะ จริงๆมันจะละเอียดกว่านี้อีกค่ะ แต่ไม่ขออธิบายลึกซึ้งเกินไปนัก เพราะไม่ได้ใช้ และเดี๋ยวจะปวดหัวกันเปล่าๆ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Dynamic)

ไดนามิค-คอนทราสต์ ( Dynamic-Contrast )

คำนี้อาจจะได้ยินไม่ค่อยบ่อยนักสำหรับนักเล่นหูฟังทั่วๆไป เพราะไม่ค่อยจะมีคนพูดถึงกันซักเท่าไหร่นัก เนื่องจากส่วนมากมักจะฟังเพลงแนวสไตล์ร๊อค หรือไม่ก็เพลงป๊อป การจับไดนามิค-คอนทราสต์จึงจับได้ยากพอสมควร

แล้วมันหมายถึงอะไรล่ะ จริงๆมันหมายถึง การไต่ระดับเสียงของดนตรีที่ไล่ไปอย่างต่อเนื่องและละเอียดอ่อน ยกตัวอย่างง่ายๆก็พวกดนตรีประเภทสี อย่าง อืมม.. เอาเป็นไวโอนลีนแล้วกันค่ะ คือจังหวะการสีของไวโอลีนเพลงช้าๆ เวลาสีแล้วถอนคันชักช้าๆ เราก็จะได้ยินเสียงไล่โทนจากเสียงที่หนักแล้วก็ค่อยเบา เบา ไล่ตามจังหวะการสี ถ้าไดนามิค-คอนทราสต์ดีๆจะรับรู้ถึงจังหวะการบิดข้อมือช่วงที่สีด้วยค่ะ เพราะมันจะมีการไล่โทนเสียงที่ชัดเจนจนรับรู้ได้เลยค่ะ ถ้านึกภาพไม่ออกก็ลองดูที่ดนตรีประเภทเป่าอย่าง ขลุ่ย หรือ ฟลุ๊ท ก็ได้ค่ะ เวลามีเสียงขลุ่ย หรือ ฟลุ๊ทดังขึ้น ( เพลงช้าๆจะชัดหน่อยหน่อยค่ะ ) เสียงจะเลียดไล่ค่อยๆดังขึ้นจนสุด จากนั้นก็จะมีเสียงผ่อนถอนไล่ตามลงมาเบาๆ แล้วสูดลมหายใจช้าๆลึกๆ เพื่อเตรียมปลดปล่อยอารมณ์ของเสียงดันอัดเข้าไปในขลุ่ยอีกครั้ง จังหวะที่ปริมาณเสียงที่ลดลงไล่ต่อเนื่องสุดแสนจะ smooth นี่แหละค่ะ ไดนามิค-คอนทราสต์ แน่นอน ถ้ามีการกระโชก หรือการกระโดดของเสียง อย่างเช่น เสียงที่กำลังสีซออยู่ พอเข้าช่วงจังหวะถอนคันชักเตรียมจะโยกกดเบียดคันลงเข้าที่เส้นสายแล้วปรากฏ ว่า เสียงของจังหวะถอนคันมันบางเบาจนบางทีแทบไม่รู้เรื่อง อันนั้นเรียกว่า ไดนามิค-คอนทราสต์ไม่ดีค่ะ ส่วนมากจะเกิดกับลำโพงหรือหูฟังที่ยังเบิร์นไม่ได้ที่ และกับหูฟังหรือลำโพงคุณภาพไม่ดีค่ะ

ไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์

สำหรับไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์นั้น บางทีจะมาคู่กับไดนามิค-คอนทราสต์ค่ะ บางท่านจะสับสนเรียกรวมทั้งได้นามิค-คอนทราสต์และทรานเชี้ยนต์รวมๆกันไปเลย ค่ะ เพราะว่า ความหมายมันก็ถือว่าใกล้ๆกันมาก แล้วดนตรีบางชิ้นก็ให้ทั้งไดนามิค-คอนทราสต์และทรานเชี้ยนต์ที่ชัดเจนเลยค่ะ

ไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์คืออะไร ? ตัวทรานเชี้ยนต์นั้นหมายถึงการที่ระดับเสียงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเบาสุดไปดังสุด จากจุดต่ำสุดไปจุด peak อย่างเช่นจังหวะตีกลอง หรือเคาะ เป็นต้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่นเสียงระเบิดน่ะค่ะ จากเสียงเงียบๆ อยู่ๆก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นตูม!... ซึ่งสปีดการตอบสนองที่ดีของไดนามิค-ทรานเชี้ยนส์จะต้องไวสมจริง ถ้าเกิดไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์ไม่ดี แต่ไดนามิค-คอนทราสต์ดันดี คุณจะได้ยินเสียงระเบิดค่อยๆไล่สเตปอืดๆช้าๆ.. เช่น... ตต..ตตต....ตู..ตูม ตูมมมมมม มูมมม มุมมม มุม มุม... เรียกว่าอืดเป็นเรือเกลือเลยค่ะ อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ โดยมากจังหวะของไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์ไม่ค่อยมีปัญหาหรอกค่ะ จะมีบางทีก็กับหูฟังที่ชอบแถมเบสเยอะๆ บางทีจะเก็บตัวช้าจนทำให้ไปกวนเสียงกลางเสียงอื่น ผลคือชิ้นดนตรีฟังจับ image ไม่ได้เลยค่ะ เสียงตีกันปนกันมั่วไปหมด ดังนั้น ไดนามิค-ทรานชี้ยนต์ที่ดีจะทำให้ชิ้นดนตรีมีความกระชับ ไม่ทิ้งเสียงเอื่อยเฉื่อยจนฟังแล้วดูอืดๆ
หรือ จังหวะช้าจนไปตีรวนชิ้นดนตรีอื่นๆค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Mid)

อิมเมจ ( Image )

มาเรื่อง Image กันบ้าง อิมเมจคืออะไร อิมเมจก็คือ ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นที่เราสามารถรับรู้และจับต้องได้ค่ะ ไม่ใช่เอามือไปหยิบได้นะคะ หมายถึงว่า ฟังแล้วรู้น่ะค่ะว่าเป็นเครื่องดนตรีอะไร ถ้าในเรื่องของเครื่องเสียงนั้น คำว่า Image จะครอบคลุมไปถึงขนาดของชิ้นดนตรีทีเดียวเชียวค่ะ เพราะ image ที่ดีของเครื่องเสียงนั้น นอกจากจะฟังชัด สัมผัสได้ เห็นชัดเจน ( ในมโนภาพ ) แล้ว ยังต้องให้ความรู้สึกเป็นชิ้นเป็นอันเป็นสามมิติ และมีขนาดของชิ้นดนตรีที่เท่าเทียมของจริงทีเดียว ว่าเข้าไปนั่น แต่ถ้าเคยเล่นพวกเครื่องเสียง Hi-Fi มา แล้ว set ตำแหน่งได้ดีๆ รับรองค่ะ จะได้สัมผัสสิ่งที่บอกมาหมดเลย

แต่ด้วยข้อจำกัดของหูฟัง ดังนั้นเลยต้องตัดขนาดของชิ้นดนตรีออก เพราะฟังให้ตายยังไงมันก็ไม่ได้ขนาดเท่าของจริงอยู่แล้วล่ะค่ะ เอาแค่สามารถจับได้ว่าเป็นชิ้นดนตรีอะไรก็เพียงพอแล้วค่ะ Image ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องของเสียงเบสด้วยนะคะ ซึ่งไม่ได้เป้นเสียงเบสจากกีต้าร์เบสอย่างเดียว แต่จะสามารถพูดถึงเสียงโทนต่ำที่ให้ Power ของเบสโดยรวมทีเดียวค่ะ

ดังนั้นสรุปเลยค่ะว่า Image หมายถึง ภาพพจน์ ภาพลักษณ์ที่สามารถสัมผัสได้ จับต้องได้ (ทางใจ) ซึ่งต้องเห็นเป็นชิ้นเป็นอันของดนตรีได้เลยค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Mid)

เสียงกลาง ( Mid , Mids , Mid-Range , Middle )

สิ่งที่หลายๆท่านเคยสงสัยกันว่า มันคืออะไร เสียงกลางเนี่ย เสียงที่วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดหรือ ? อ๊ะ อาจจะเป็นเสียงที่ลอยตัวอยู่กลางอากาศที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางของทั้งหมด ซึ่งจะอยู่ตรงช่วงจุดตัดของค่ารวมทั้งหมดของระยะ soundstage และ มิติเสียงกลาง..... เอ่อ เว่อร์ไปนิดเนอะคะ

แล้วเสียงกลางมันคืออะไรกันล่ะ ถ้าพูดกันง่ายๆภาษาบ้านๆนะคะ เสียงกลางก็คือ เสียงที่อยู่ตรงกลางนั่นแหละค่ะ เสียงทั้งหมดที่อยู่แถว Zone กลางของหน้าเราเวลาฟังเพลงเนี่ยแหละค่ะเสียงกลาง สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะว่า เสียงที่ไต่ระดับอยู่ที่ 100Hz-3KHz หรือ 160-1,500 Hz ที่เป็นช่วงของเสียงที่ให้ระดับเสียงกลางๆนั้น โดยมากจะเป็นเสียงร้องค่ะ จริงๆชิ้นดนตรีอื่นๆก็มีโทนเสียงในระดับกลางเช่นกัน แต่เสียงร้องมักจะถูกนำมาวางไว้ตรงกลางมากที่สุดค่ะ ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ เสียงกลางคือเสียงตรงกลาง ที่ไม่ใช่เสียงสูง หรือเสียงต่ำอย่างเบสค่ะ ต้องเป็นเสียงที่ให้โทนกลางๆเลยค่ะ ก็ให้จำไว้ว่า เสียงกลาง นอกจากไม่สูงไม่ต่ำแล้ว ส่วนใหญ่จะมาอยู่กันช่วงกลางๆเลยค่ะ

และด้วยเหตุผลที่เสียงกลางโดยมากจะเป็นเสียงร้อง ดังนั้นจึงมีคำขยายเพื่ออธิบายของเสียงกลางอีกค่ะ โดยแบ่งเป็น

ขึ้นจมูก( NASAL ) ลองนึกภาพคนเป็นหวัด หรือเวลาเราบีบจมูกแล้วพูดออกมาดูค่ะ เสียงขึ้นจมูกของเสียงกลางจะออกเป็นลักษณะแบบนั้น เสียงจะอู้ๆ ก้องๆ ฟังแล้วไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

เจิดจ้า , เด่น , พุ่ง หมายถึงอาการของเสียงกลางที่จะโดดนำเสียงอื่นๆออกมาเลยค่ะ กลายเป็นว่าเสียงอื่นๆฟังดูด้อยไปพิลึก เล่นเอา balance เสียไปหมดเลยค่ะ ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ ลองหาเพลง "เถียงกันทำไม" จากอัลบั้ม " ธงไชย วิลเลจ" มาลองฟังดูค่ะ จะเข้าใจตรงนี้ได้ง่ายมาก

Chesty ( ไม่รู้จะแปลว่าไงดีค่ะ ) คือ จะหมายถึงเสียงร้องที่มีขนาดใหญ่ผิดปรกติ ประหนึ่งว่านักร้องท่านนั้นมีปอดแบบไม่ธรรมดา จนกลายเป็นว่าช่วงความถี่กลางต่ำ ( ประมาณ 250Hz-125Hz ) ถูกอัดขยายขึ้นมาเด่นมากจนกินย่านอื่นไปซะส่วนใหญ่ เสียงร้องอย่างเสียงผู้ชายเลยจะออกห้าวๆ ลึกๆ เกินจริง แต่มันก็จะให้รู้สึกว่าเสียงกลางอวบและอิ่ม ฟังดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นค่ะ บางท่านก็จะชอบแบบนี้

โปร่ง ก็คืออาการของเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกว่าโล่ง โปร่ง สบาย ฟังแล้วไม่รู้สึกอับเหมือนอยู่ในห้องแคบๆ โดยมากเสียงโปร่งๆจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ไม่มีเสียงอื่นเสียงใดมารบกวนเสียงที่เรากำลังรับชม เพราะลักษณะของคลื่นเสียงจากลำโพงที่ตรงเข้ามาหาเราจะไม่ถูกรบกวนด้วยคลื่น เสียงจากที่อื่น เมื่อใดก็ตามที่มีคลื่นเสียงอื่นนอกเหนือจากเสียงที่มาจากลำโพงตรงๆ ไม่ว่าจะด้วยอคูสติคของห้องที่ไม่ดี ไม่มีแผงดิฟิวเซอร์* หรือใช้ absorb มากเกินไป เรียกว่าใส่ซะจนเป็นห้องอัดเสียงใน Studio เหล่านี้ จะทำให้สัญญานเสียงเปลี่ยนไปหมด
ในแง่ของหูฟัง ในเรื่องของความโปร่งนั้นจะขึ้นอยู่กับบุคลิกของหูฟังที่ให้มาค่ะ ปัจจัยภายนอกอย่างอื่นจะไม่เกี่ยวข้องเลยค่ะ มักจะอยู่ที่การออกแบบหูฟังของแต่ละบริษัท และยังสามารถขึ้นอยู่กับ แอมป์ และ Player อีกด้วยค่ะ

* ดิฟิวเซอร์คือแผงที่มีขึ้นเพื่อเคลียร์คลื่นเสียงไม่ให้สะท้อนออกไปในปริมาณ ที่มากเกินไป ลักษณะจะเป็นแผงเหมือนชั้นหนังสือค่ะ แต่จะเป็นแนวกระดานแบบเส้นตรงไม่ใช่แนวนอนเหมือนชั้นหนังสือ แล้วจะวางไว้ค่อนข้างชิดกัน แต่ก็จะมีระยะห่างที่พอควร โดยปรกติจะเป็นที่นิยมมากกว่าพวก absorb ( absorb จะเป็นตัวดูดซับสัญญานค่ะ ทำหน้าที่เหมือนดิฟิวเซอร์ แต่ถ้าติดมากเกินไปจะทำให้เสียงที่ได้รู้สึกอับๆค่ะ ) เพราะทำให้รับ image ได้ชัดเจนเหมือนกัน แต่ห้องไม่อับ เสียงที่ได้จะโปร่งกว่าเยอะค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Soundstage)

Soundstage
Soundstage ( ซาวนด์เสตจ ) คืออะไร ? ในหนังสือส่วนใหญ่มักจะเขียนไว้ว่า อาณาเขตโดยรอบที่อิมเมจหรือตัวเสียงทั้งหมดเรียงตัวอยู่ในอากาศ* อ่านแล้วงงไม๊คะ มันอะไรกันน้า เสียงที่เรียงตัวอยู่ในอากาศเนี่ย คืออย่างงี้ค่ะ ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่อง soundstage เนี่ย ต้องพูดเรื่องระยะประกอบกันไปด้วย โดยปรกติแล้วการฟังเพลงด้วยหูฟังจะค่อนข้างอธิบายได้ง่ายค่ะ เนื่องจากจะเห็นได้ชัดเจนกว่าการฟังจากลำโพง

จริงๆแล้ว Soundstage นั้นหมายถึง สุดขอบที่ชิ้นดนตรีจะสามารถเล่นได้ถึง หรือ แสดงเสียงได้ถึงนั่นเอง อาจจะฟังดูงงๆอยู่ ถ้าจะให้ง่ายกว่านี้ ให้ลองหยิบหูฟังขึ้นมาค่ะ แล้วลองฟังดู ตำแหน่งของเสียงที่ไกลที่สุดที่ได้ยินจากหูฟัง นั่นแหละค่ะคือระยะของ soundstage

โดยปรกติแล้ว Soundstage จะถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 อย่างคือ

- Soundstage ด้านกว้าง
- Soundstage ด้านลึก

แล้วมันต่างกันยังไงล่ะ??

คือ Soundstage ด้านกว้างเนี่ย จะหมายถึง ความกว้างของเสียงที่ออกไปทางด้านซ้ายและขวา ลองหยิบหูฟังขึ้นมาฟังอีกทีค่ะ อ้าวฟังอยู่เหรอคะ โทษทีค่ะไม่ทันมอง ฮิฮิ
ทีนี้เปิดเพลงนะคะ แล้วลองกางแขนออกกว้างๆเลยค่ะ นั่นแหละค่ะ soundstage ด้านกว้าง ทั้งนี้ soundstage ด้านกว้างสำหรับหูฟังนั้น มักจะถูกเรียกรวมว่าเป็น Soundstage เฉยๆค่ะ ส่วน Soundstage ด้านลึกจะถูกเรียกเป็นมิติแทนค่ะ เนื่องจากหูฟังไม่สามารถจับ Transparency หรือความโปร่งใสได้เหมือนกับลำโพงค่ะ ดังนั้นการจะพูดถึงความเป็นสามมิติแยกออกจาก soundstage ด้านลึกก็เห็นจะไม่สมควรค่ะ ดิฉันลงความเห็นว่าควรจะเรียกรวมไปเลยเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อคนฟัง ด้วย

ส่วน Soundstage ด้านลึก นั้น จะหมายถึง เสียงชิ้นดนตรีที่ไกลที่สุดที่ได้ยินจากข้างบนหัวของเรา หรือก็คือ มิติของเสียงกลางนั่นแหละค่ะ Soundstage ด้านลึกที่ดีจะสามารถแยกให้เห็นชิ้นดนตรีได้ชัดเจน ไม่มีการตีกันให้พร่ามัวจนสัมผัสเสียงของดนตรีแต่ละชิ้นไม่ได้

Soundstage อาจจะถูกถามเป็นประเดนแรกสำหรับการฟังหูฟังทีเดียวเชียวค่ะ เพราะถ้าหูฟังที่ให้ Soundstage ดีๆก็ย่อมจะให้มิติของชิ้นดนตรีที่ดีตามไปด้วยค่ะ แต่ข้อเสียของหูฟังที่ Soundstage กว้างๆก็จะอยู่ที่การให้ Dynamic ที่ไม่อิ่มเท่ากับหูฟังที่ Soundstage อยู่ในขอบเขตไม่กว้างขวางนัก เนื่องจากเป็นข้อจำกัดทางด้านเทคนิคค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์ที่ใช้

มาดูอุปกรณ์ที่ใช้หลักกันก่อนดีกว่าครับคราวนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นอุปกรณ์ที่ผมใช้อยู่แล้วที่บ้านนะครับ ^^


  1. หัวแร้ง
  2. ไขควง
  3. ที่ดูดตะกั่ว
  4. ตะกั่ว
  5. กรรไกรตัดเล็บ
  6. มิเตอร์วัดไฟ

ชนิด Class ต่างๆ PowerAmp

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ คือลักษณะการทำงานของวงจรแอมปลิไฟร์ต่างๆ การออกแบบภาคขยายและการจัดเรียงไบอัสให้กับทรานซิสเตอร์นั่นเอง จึงได้เคยคลาสต่างๆขึ้นมาผมจึงได้รวมรวบมาให้ศึกษากันครับ

Class A

พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย แอมป์ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นอัดตูมตาม

Class B

เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว ทำงานแบบ Push-Pull หรือ ผลัก ดัน ช่วยกันทำงานคนละครึ่งทาง และจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่ข้อเสียกลับมากกว่าเพราะความผิดเพี้ยนสูงมาก เสียงจึงไม่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันแอมป์ คลาสนี้คงจะไม่มีแล้ว

Class AB

เป็นการรวมตัวกันของแอมป์ทั้ง 2คลาสที่กล่าวมา คือใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว แต่จะมีการป้อนกระแสไฟปริมาณตํ่าๆเอาไว้ล่วงหน้าอยู่ตลอดแต่จะไม่มากเท่าคลาส A และการจัดวงจรก็ใช้แบบ Push-Pull เหมือนคลาส B จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ประเภทนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ถึงแม้จะไม่เท่าคลาส A แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และเกิดความร้อนน้อยกว่า และคลาส AB นี้แหละเป็นแอมป์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงกลาง-แหลม หรือแม้แต่ซับวูเฟอร์ก็ได้

Class D

ตัว "D"ไม่ได้ย่อมาจากคำว่า DIGITAL อินพุทถูกแปลงเป็นออดิโอ เวฟฟอร์ม ไบนารี 2 สเตท ความแตกต่างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ CLASS D ออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ แทนที่จะต้องเสียกำลังไปในทรานซิสเตอร์ เอาท์พุทก็จะถูกไม่เปิดตลอด ไม่มีโวลเทจเสีย ก็ปิดตลอด ส่งผลให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ดังนั้นอินพุทออดิโอถูกแปลงเป็น PWM (PULSE WIDULATED) ร่องสีเหลืองที่อยู่ขางใต้คือ เอาท์พุทของแอมพ์ ร่องสีฟ้าคือ เวฟฟอร์ม PWM เวฟฟอร์มสีฟ้าจะถูกป้อนให้กับฟิลเตอร์เอาท์พุท ซึ่งให้ผลเป็นเวฟฟอร์มเอาท์พุทสีเหลือง สังเกตว่า เอาท์พุทจะดูเหมือนอะไรบางอย่างที่เสียไปสัญญาณที่เสีย และเสียงสวิทชิงทั้งหมดไม่สามารถเอาออกไปได้ และจะเห็นผลได้ที่นี่ เพราะขั้นตอนการแปลงสัญญาณอินพุทไปเป็น pwn และแปลงกลับไปเป็นแอนาลอก ทำให้เกิดการเสียของสัญญาณไป ฟีดแบคทั่วไปก็เหมือนกับที่ใช้ในการออกแบบแอมพ์ CLASS "AB" เพื่อลดการเสียของสัญญาณ มอสเฟทเป็นทางเลือกเดียวสำหรับการออกแบบ CLASS "D" ซึ่งการออกแบบส่วนใหญ่จะมีประโยชน์แต่กับเพียงเบสส์แอมพ์ เมื่อมันไม่สามารถสวิทช์ได้เร็วเพียงพอ กับการผลิตความถี่สูงอีกครั้ง การออกแบบ CLASS "D" ฟลูล์เรนจ์คุณภาพสูงยังคงหาได้ ในเครื่องเสียงระดับมืออาชีพ แต่มันจะซับซ้อนกับเอาท์พุทมัลทิเฟล

CLASS T

(TRIPATH) เหมือนกับ CLASS D แต่ไม่ใช้ฟีดแบค แอนาลอก เหมือนกับ CLASS D ฟีดแบคจะเป็นสัญญาณดิจิทอล และเกิดกับส่วนบนของฟิลเตอร์เอาท์พุท เพื่อหลีกเลี่ยงการยกเฟสของฟิลเตอร์นี้เพราะการเสียของสัญญาณในแอมพ์ CLASS D และ CLASS T เกิดขึ้นจากไทมิงทำงานผิดจังหวะ แอมพ์ CLASS T จะป้อนข้อมูลในเรื่องจังหวะกลับไป ส่วนการเสียของสัญญาณ ยังเกิดจากที่เเอมพ์ใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิทอล เพื่อแปลงอินพุท แอนาลอกไปเป็นสัญญาณ PWM และประมวลผลข้อมูลก่อนจะส่งกลับ

การประมวลผล จะดูที่ข้อมูลฟีดแบค และทำการปรับแต่งจังหวะ เพราะลูพฟีดแบคไม่ได้รวมฟิลเตอร์เอาท์พุทเอาไว้ด้วย ในแอมพ์ CLASS T มั่นคงมาก และสามารถทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง ซึ่งผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่สามารถได้ยินความแตกต่างระหว่าง CLASS T และ CLASS AB ที่ออกแบบดีๆได้

การออกแบบทั้ง CLASS Dและ CLASS T ต่างก็มีปัญหากันคนละอย่าง มันเกินกำลังมาก ที่รอบต่ำเพราะเวฟฟอร์มความถี่สูงๆ จะเกิดขึ้นตลอดเวลาแม้ในช่วงที่ไม่มีสัญญาณเสียงแอมพ์ก็ยีงมีความร้อนตกค้างหลงเหลืออยู่แอมพ์บางรุ่นจะมีการตัดการทำงานของเครื่องเมื่อหยุดพักใช้งาน และจะกลับมาทำงานใหม่ เมื่อใช้งานโดยอัตโนมัติ

CLASS G

เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นมาอีกขั้นธรรมดาแอมพ์ CLASS AB จะขับโดยเพาเวอร์ซัยพลาย MULTI-RAIL แอมพ์ 500 วัตต์ อาจจะมี POSITIVE RAIL 3 และ NEGATIVE RAIL 3 ซึ่ง RAIL VOLTAGES อาจจะเป็น 70,50,25 โวลท์เมื่อเอาท์พุทของแอมพ์ขยับไปใกล้ 25 โวลท์ ซัพพลายก็จะสวิทช์ให้ RAIL 50 โวลท์ และเมื่อเอาท์พุทขยับเข้าไปใกล้ 50 VOLT RAIL ซัพพลายก็จะสวิทช์ไปยัง RAIL 70 โวลท์ บางครั้งเรียกการออกแบบนี้ว่า RAIL SWITCH

การออกแบบนี้ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยลดการสูญเสียโวลเทจกับทรานซิลเตอร์เอาท์พุทโวลเทจนี้ เป็นความแตกต่างระหว่างซัพพลายบวก หรือแดง กับเอาท์พุทออดิโอ สีฟ้า CLASS G มีประสิทธิภาพเทียบเท่า CLASS D หรือ CLASS T ในขณะที่การออกแบบ CLASS G มีความสลับซับซ้อนมาก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแอมพ์ CLASS AB และมีคุณลักษณะใกล้เคียงกันมาก

CLASS H

มีความคล้ายกับ CLASS G ยกเว้น RAIL VOLTAGE ที่โมดูเลทสัญญาณอินพุทเท่านั้น ที่ไม่มีเพาเวอร์ซัพพลาย RAIL จะสูงกว่าสัญญาณเอาท์พุทเล็กน้อย ปล่อยโวลเทจให้กับทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก และระบายความร้อนทรานซิสเตอร์เอาท์พุท วงจรที่คล้ายกับที่ใช้ในแอมพ์ CLASS D นี้ก็คือ มีโมดูเลทเพาเวอร์ซัพพลาย RAIL ที่เหมือนกัน ในส่วนของความสลับซับซ้อนแอมพ์แบบนี้ มีความเหมือนกับแอมพ์ CLASS D แต่ทำงานได้เหมือนกับแอมพ์ CLASS AB

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

มารู้จัก Reciever กันก่อน Part.3

  • ปรีคาราโอเกะ (Pre Karaoke) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า คาราโอเกะ มันจึงเน้นเกี่ยวกับคาราโอเกะนั้นเอง ในส่วนนี้ก็จะเป็นการผสมสัยญาณ ระหว่างไมค์ กับ สัญญาณอินพุตที่เข้ามา แล้วยังมีปุ่มในการปรับ ECHO (เสียงสะท้อนมาก/น้อย) , REPEAT (เสียงสะท้อนสั้น/ยาว) , DELAY (หน่วงจังหวะของเสียงสะท้อน) และที่แน่ๆต้องช่องสำาหรับเสียบไมโครโฟน และอาจจะมีปุ่มปรับโทนคอนโทรลด้วยก็ได้
    ปรีคาราโอเกะ (Pre Karaoke)
  • โทนคอนโทรล (Tone-Control) มีหน้าที่ในการปรับโทนเสียงตามต้องการส่วนใหญ่จะมี 3 ปุ่มเพื่อปรับเสียงแหลม เสียงกลาง เสียงทุ้ม บางรุ่นอาจมีเป็น 10 ปุ่มเพื่อปรับอย่างละเอียด ส่วนใหญ่วงจรนนี้จะรวมอยู่กับ ปรีแอมป์ หรือ ปรีคาราโอเกะ อยู่แล้ว
    โทนคอนโทรล (Tone-Control)
  • เครื่องรับวิทยุ (Tuner) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเครื่องรับวิทยุ ทั้ง AM/FM ซึ่งจะมีทั้งแบบดิจิตอนและอนาล็อค
    เครื่องรับวิทยุ (Tuner)
  • เอวี รีซีฟเวอร์ (AV Receiver) หรือตัวย่อคือ AVR ย่อมาจาก All Video RateX - -" ล้อเล่นไม่ใช้ครับ ย่อมาจาก Audio Video Reciever มีความสามารถคล้ายกับ Int.Amp เพิ่มฟังชั่นเกี่ยวกับการจัดการภาพและเสียงสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์เกิดมาเพื่อใช้ดูหนังครับ แต่จะเอาไว้ฟังเพลงก็ไม่ขี้เหล่อะไร (ยุคนี้มักจะพูดกันถึงตัวนี้) เพราะครบเครื่องที่สุดแล้ว
    เอวี รีซีฟเวอร์ (AV Receiver)

เมื่อรู้จักเกือบหมดแล้ว ก็จะสรุปได้ดังนี้นะครับ
  • ปรีแอมป์: ภาคขยายสัญญาณขั้นต้น + โทนคอนโทรล
  • เพาเวอร์แอมป์: ภาคขยายสัญญาณ (จะรับสัญญาณจากปรีแอมป์มาขยายต่อ) เพื่อนำไปขับลำโพงอีกทีหนึ่ง (เพาเวอร์แอมป์มีแต่ภาคขยายนะครับ ปรับเพิ่ม/ลดโวลุ่มไม่ได้นะ ปรับได้แต่เกนขยายเวลาต่อกับปรีแอมป์)
  • อินทิเกรทแอมป์: เพาเวอร์แอมป์ + ปรีแอมป์ ในตัวถังเดียวกัน
  • รีซีฟเวอร์: อินทิเกรทแอมป์ที่ใส่วงจรจูนเนอร์รับวิทยุลงไปในตัวถังเดียวกันด้วย บางตัวก็ต่อซับได้ด้วยนะ (มีปรีซับมาให้)
  • ปรี โปรเซสเซอร์: คือปรีแอมป์ที่ใส่วงจรประมวลผลภาพ/เสียง ใส่วงจรถอดรหัสเสียงลงไป บางเจ้าก็อาจใส่วงจรสังเคราะห์เสียง วงจรอัพเสกลภาพลงไปด้วย แล้วแต่จะนึกได้ อาจมีปรีเอ้าท์ได้มากกว่า 2 แชนแนล สิ่งเดียวที่ไม่ได้ใส่ลงไป คือภาคขยาย (เพราะฉะนั้น จะเอาไปต่อลำโพงโดยตรงไม่ได้นะครับ)
  • เอวี รีซีฟเวอร์: ปรีโปรเซสเซอร์ + วงจรจูนเนอร์วิทยุ + ภาคขยาย หรือรีซีฟเวอร์ที่ใส่วงจรประมวลผลภาพ/เสียง วงจรถอดรหัสเสียง วงจรสังเคราะห์เสียง วงจรอัพเสกลภาพ วงจรโอเวอร์แซมปลิ้ง หรือวงจรอะไรต่อมิอะไรที่ผู้ผลิตจะนึกได้ ลงไปในนั้น (จะเยอะจะน้อยขึ้นอยู่กับระดับราคา) ส่วนใหญ่จะมีภาคขยายมากกว่า 2 แชนแนล (มักจะมี 5 แชนแนลขึ้นไป บางยี่ห้อก็มีเป็นสิบ -*-) และมีปรีซับ + วงจรเบสเมเนจเม้นท์ด้วย

ซึ่งในโครงการนี้ที่เราจะทำคือเจ้า รีซีฟเวอร์ นะเอง

มารู้จัก Reciever กันก่อน Part.2

ต่อไปจะอธิบายว่าเครื่องเสียง มีชนิดอะไรบ้างแต่ผมคงไม่อธิบายทั้งหมดนะครับเพราะยอมรับก่อนว่าผมไม่ได้ถึงขั้น เทพ หรือ หูทอง อะไร แค่พอเอาความสนใจที่ได้ศึกษามาอธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจเพราะรายละเอียดทางเทคนิคผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
  • ปรีแอมป์ (Pre Amp) คือแอมป์ที่มีกำลังขยายต่ำ แต่ความเที่ยงตรงสูง (ความเพี้ยนต่ำ) ใช้ขยายสัญญาณอ่อนๆ จากต้นทาง เช่นซีดี เนื่องจากความที่ปรีแอมป์ มีความเพี้ยนต่ำ ถ้าสร้างให้มีกำลังขยายมาก ก็จะแพงมหาศาล
    • ปรีแอมป์นั้นจะมีปุ่มปรับเร่งความดังเสียง อยู่เพื่อเร่งสัญญาณให้แรงขึ้นให้กับเพาเวอร์ แอมป์
    • ปุ่มปรับเลือกสัญญาณอินพุต (selector switch) เพื่อเลือกสัญาณว่าจะรับอะไร เช่น CD ทีวี เทป ซึ่งก็แล้วแต่รุ่นว่าเขากำหนดให้รับสัญญาณได้กี่ประเภท บางรุ่นอาจจะรับได้ 2 ช่องสัญญาณ บางอันอาจได้ถึง 8 ช่องสัญญาณ
    • ปุ่มปรับ Balance ใช้สำหรับปรับความดังสัญญาณที่จะออกด้านซ้าย ด้านขวา
    • ปุ่มปรับ Tone Control ใช้สำหรับปรับเสียงทุ้ม กลาง แหลม ส่วนใหญ่จะมีแค่ 3 ปุ่ม แต่บางรุ่นอาจมีถึง 10 ปุ่มเพื่อปรับอย่างละเอียด

    ปรีแอมป์ (Pre Amp)
  • เพาเวอร์แอมป์ (Power Amp) คือแอมป์ที่มีกำลังขยายสูง แต่ความเที่ยงตรงต่ำ (ความเพี้ยนสูง) ใช้ขยายสัญญาณที่ค่อนข้างแรง ที่ออกมาจากปรีแอมป์อีกที ถ้าสร้างแอมป์ให้มีความเพี้ยนต่ำ ก็จะแพงมหาศาลเช่นกัน เพาเวอร์แอมป์ นั้นจะไม่มีปุ่มอะไรเลย นอกจากปุ่มเปิด นอกจากบางรุ่นจะใส่ปรับเร่งความดังเสียง หรือปุ่มปรับ Balance ให้


    ดังนั้นเพื่อลดต้นทุน จึงใช้ปรีแอมป์ขยายสัญญาณ "อย่างเที่ยงตรง" ให้มีความแรงขึ้นมาสักหน่อยก่อน แล้วจึงให้เพาเวอร์แอมป์ขยายต่อให้ดัง ตรงนี้จะเพี้ยนบ้างก็ยอม และที่ความดังมากๆ จะเพี้ยนบ้าง เราก็แยกไม่ออก

    สมมุติเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร ถ้าจะถ่ายขยายจาก A5 -> A0 โดยภาพยังชัดมากๆ ก็ต้องใช้เลนส์ดีมากๆ ก็จะแพง เลยใช้วิธีถ่ายจาก A5 เป็น A3 ก่อน (ปรีแอมป์) แล้วค่อยเอา A3 ไปถ่ายเป็น A0 อีกที (แอมป์) ทีนี้ถ้าช่วง A5 -> A3 เพี้ยน ช่วง A3 -> A0 ก็ยิ่งเพี้ยนหนัก โดยงบประมาณที่จำกัด จึงยอมทำดีมากๆ แค่ช่วงแรกเท่านั้น

    ที่มา : คุณ จั๊กกะจี๋ ณ Pantip.com

  • อินทิเกรต แอมป์ (Integrated Amp) คือการเอาปรีแอมป์และเพาเวอร์แอมป์ มารวมกันไว้ในเครื่องเดียว จึงเอาเครื่องเล่นพวก CD หรือ เทป มาเสียบเครื่องนี้แล้วต่อลำโพงก็สามารถเล่นได้เลย สำหรับผู้ที่มีงบจำกัด อินทิเกรต แอมป์ จึงเป็นทางเลือกที่หน้าสนใจที่สุด

มารู้จัก Reciever กันก่อน Part.1

Reciever นะรึ เอาง่ายมันก็คือเครื่องขยายเสียงแบบหนึ่งที่รวมเอา ของอุปกรณ์หลายชิ้นมารวมกัน ไม่ว่าภาครับสัญญาณเสียง ภาคขายสัยญาณเสียง จูนเนอร์วิทยุ ภาคถอดรหัสเสียงดิจิตอน ภาคปรับแต่งสัญญาณ ฯ แล้วแต่ผู้ออกแบบจะสันหามาใส่แหละครับ ถามว่าแล้วมันต่างกับ mini compo ยังไง นั้นสิ เอาเป็นว่าที่ผมสังเกต เห็นเองนะ
  1. Reciever มันไม่มีลำโพงในตัวต้องหาแยกเอง
  2. Reciever มันไม่มีตัวเล่นแผ่น CD
  3. Reciever มันถอดรหัสสัญญาณภาพได้ พวกแผ่น VCD DVD
  4. Reciever มันดูหรูหรากว่า Mini Compo

Reciever
Reciever


mini compo
mini compo

ปฐมบทแห่งการเริ่มต้น

"ทำเอง ทำไม ซื้อมาราคาก็ถูกกว่าแถมสวยกว่าทำเองต้องเยอะ" นี่เป็นคำพูดที่ผมเจอมาประจำ ซึ่งเรื่องนี้มันก็น่าจะยอมรับจริงๆ เพราะการที่เขาทำในจำนวนมากๆ แล้วมีรูปแบบที่สามารถทำได้มันย่อมมี มาตราฐานและความสวยงามมากว่างานที่เราทำอยู่แล้ว แล้วถ้าประกอบกับเราไม่มีความรู้ความถนัดในเรื่องที่จะทำแล้วย่อมยากขึ้นไปอีกเป็นทวีคูณ

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้จบวิศวะไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอกนิกส์ แต่จบบริหารธุรกิจ (มันต่างกันนะเนี่ยมันจะทำได้เหรอ) แต่มันทำให้ผมอยากรู้จักว่าไอที่เราฟังกันเนี่ย ถ้าเราเริ่มทำเองมันจะได้สักเท่าไร และในใจตอนแรกคือราคามันต้องต่ำกว่าที่เขามีขาย จึงมาเป็นการ "D.I.Y My Reciever" เริ่มแรกที่ผมคิด คือผมได้ไปอ่านบทความหนึ่งของคุณ nitroboy จากเว็บ http://www.headphoneresearch.com ชื่อว่า (DIY) มาทำแอมพ์ CMOYแบบ hardwire กันเถอะ เสียงดี ทำง่าย ราคาไม่ไม่โดนแอมพ์นอกฟัน!!!!! จึงเป็นที่มาให้ผมคิดจะทำ แอมป์ซักตัวเพื่อใช้กับชุด Home Theater บ้านเพื่อเพิ่มช่องทางฟังเพลงในเสียงที่แปลกไปและประหยัดค่าไฟฟ้าด้วย จึงมองไปที่เจ้า CMOY บวกกับชุด Kit Power Amp ราคาไม่กี่ร้อยบาท แต่ก็อย่างว่าความต้องการของคนเรามันไม่มีสิ้นสุด เมื่ออ่านมากรู้มาก ก็ยิ่งคาดหวังสูงจากราคาไม่กี่ร้อยก็ขยับเป็นไม่กี่พันจนถึงหลักหมื่น ผมจึงหยุดแล้วเริ่มกลับมามองเริ่มต้นอีกครั้ง

และนี่คือที่มาว่าทำไมผมถึงเขียนบล็อกนี้ขึ้นก็เพื่อเป็นการเตือนสิ่งที่ตัวเองกำลังทำว่ามันไปถึงไหนแล้วราคาของเจ้าสิ่งนี้มันเป็นเท่าไรแล้ว บล็อกนี้ผมจะอัพเดจเรื่อยๆ จนกว่า โปรเจคนี้จะสมบูรณ์หรือมีปัญหาให้เลิกไปสักก่อน ผมคงไม่รีบทำให้เสร็จไปแต่จะทำไปเรื่อยด้วยเวลาหรือกำลังทรัพย์ที่อำนวย

ส่วนนี่คือรายการของสิ่งของที่ซื้อไปครับ รายการซื้อ