วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

มารู้จัก Reciever กันก่อน Part.3

  • ปรีคาราโอเกะ (Pre Karaoke) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า คาราโอเกะ มันจึงเน้นเกี่ยวกับคาราโอเกะนั้นเอง ในส่วนนี้ก็จะเป็นการผสมสัยญาณ ระหว่างไมค์ กับ สัญญาณอินพุตที่เข้ามา แล้วยังมีปุ่มในการปรับ ECHO (เสียงสะท้อนมาก/น้อย) , REPEAT (เสียงสะท้อนสั้น/ยาว) , DELAY (หน่วงจังหวะของเสียงสะท้อน) และที่แน่ๆต้องช่องสำาหรับเสียบไมโครโฟน และอาจจะมีปุ่มปรับโทนคอนโทรลด้วยก็ได้
    ปรีคาราโอเกะ (Pre Karaoke)
  • โทนคอนโทรล (Tone-Control) มีหน้าที่ในการปรับโทนเสียงตามต้องการส่วนใหญ่จะมี 3 ปุ่มเพื่อปรับเสียงแหลม เสียงกลาง เสียงทุ้ม บางรุ่นอาจมีเป็น 10 ปุ่มเพื่อปรับอย่างละเอียด ส่วนใหญ่วงจรนนี้จะรวมอยู่กับ ปรีแอมป์ หรือ ปรีคาราโอเกะ อยู่แล้ว
    โทนคอนโทรล (Tone-Control)
  • เครื่องรับวิทยุ (Tuner) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเครื่องรับวิทยุ ทั้ง AM/FM ซึ่งจะมีทั้งแบบดิจิตอนและอนาล็อค
    เครื่องรับวิทยุ (Tuner)
  • เอวี รีซีฟเวอร์ (AV Receiver) หรือตัวย่อคือ AVR ย่อมาจาก All Video RateX - -" ล้อเล่นไม่ใช้ครับ ย่อมาจาก Audio Video Reciever มีความสามารถคล้ายกับ Int.Amp เพิ่มฟังชั่นเกี่ยวกับการจัดการภาพและเสียงสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์เกิดมาเพื่อใช้ดูหนังครับ แต่จะเอาไว้ฟังเพลงก็ไม่ขี้เหล่อะไร (ยุคนี้มักจะพูดกันถึงตัวนี้) เพราะครบเครื่องที่สุดแล้ว
    เอวี รีซีฟเวอร์ (AV Receiver)

เมื่อรู้จักเกือบหมดแล้ว ก็จะสรุปได้ดังนี้นะครับ
  • ปรีแอมป์: ภาคขยายสัญญาณขั้นต้น + โทนคอนโทรล
  • เพาเวอร์แอมป์: ภาคขยายสัญญาณ (จะรับสัญญาณจากปรีแอมป์มาขยายต่อ) เพื่อนำไปขับลำโพงอีกทีหนึ่ง (เพาเวอร์แอมป์มีแต่ภาคขยายนะครับ ปรับเพิ่ม/ลดโวลุ่มไม่ได้นะ ปรับได้แต่เกนขยายเวลาต่อกับปรีแอมป์)
  • อินทิเกรทแอมป์: เพาเวอร์แอมป์ + ปรีแอมป์ ในตัวถังเดียวกัน
  • รีซีฟเวอร์: อินทิเกรทแอมป์ที่ใส่วงจรจูนเนอร์รับวิทยุลงไปในตัวถังเดียวกันด้วย บางตัวก็ต่อซับได้ด้วยนะ (มีปรีซับมาให้)
  • ปรี โปรเซสเซอร์: คือปรีแอมป์ที่ใส่วงจรประมวลผลภาพ/เสียง ใส่วงจรถอดรหัสเสียงลงไป บางเจ้าก็อาจใส่วงจรสังเคราะห์เสียง วงจรอัพเสกลภาพลงไปด้วย แล้วแต่จะนึกได้ อาจมีปรีเอ้าท์ได้มากกว่า 2 แชนแนล สิ่งเดียวที่ไม่ได้ใส่ลงไป คือภาคขยาย (เพราะฉะนั้น จะเอาไปต่อลำโพงโดยตรงไม่ได้นะครับ)
  • เอวี รีซีฟเวอร์: ปรีโปรเซสเซอร์ + วงจรจูนเนอร์วิทยุ + ภาคขยาย หรือรีซีฟเวอร์ที่ใส่วงจรประมวลผลภาพ/เสียง วงจรถอดรหัสเสียง วงจรสังเคราะห์เสียง วงจรอัพเสกลภาพ วงจรโอเวอร์แซมปลิ้ง หรือวงจรอะไรต่อมิอะไรที่ผู้ผลิตจะนึกได้ ลงไปในนั้น (จะเยอะจะน้อยขึ้นอยู่กับระดับราคา) ส่วนใหญ่จะมีภาคขยายมากกว่า 2 แชนแนล (มักจะมี 5 แชนแนลขึ้นไป บางยี่ห้อก็มีเป็นสิบ -*-) และมีปรีซับ + วงจรเบสเมเนจเม้นท์ด้วย

ซึ่งในโครงการนี้ที่เราจะทำคือเจ้า รีซีฟเวอร์ นะเอง

มารู้จัก Reciever กันก่อน Part.2

ต่อไปจะอธิบายว่าเครื่องเสียง มีชนิดอะไรบ้างแต่ผมคงไม่อธิบายทั้งหมดนะครับเพราะยอมรับก่อนว่าผมไม่ได้ถึงขั้น เทพ หรือ หูทอง อะไร แค่พอเอาความสนใจที่ได้ศึกษามาอธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจเพราะรายละเอียดทางเทคนิคผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
  • ปรีแอมป์ (Pre Amp) คือแอมป์ที่มีกำลังขยายต่ำ แต่ความเที่ยงตรงสูง (ความเพี้ยนต่ำ) ใช้ขยายสัญญาณอ่อนๆ จากต้นทาง เช่นซีดี เนื่องจากความที่ปรีแอมป์ มีความเพี้ยนต่ำ ถ้าสร้างให้มีกำลังขยายมาก ก็จะแพงมหาศาล
    • ปรีแอมป์นั้นจะมีปุ่มปรับเร่งความดังเสียง อยู่เพื่อเร่งสัญญาณให้แรงขึ้นให้กับเพาเวอร์ แอมป์
    • ปุ่มปรับเลือกสัญญาณอินพุต (selector switch) เพื่อเลือกสัญาณว่าจะรับอะไร เช่น CD ทีวี เทป ซึ่งก็แล้วแต่รุ่นว่าเขากำหนดให้รับสัญญาณได้กี่ประเภท บางรุ่นอาจจะรับได้ 2 ช่องสัญญาณ บางอันอาจได้ถึง 8 ช่องสัญญาณ
    • ปุ่มปรับ Balance ใช้สำหรับปรับความดังสัญญาณที่จะออกด้านซ้าย ด้านขวา
    • ปุ่มปรับ Tone Control ใช้สำหรับปรับเสียงทุ้ม กลาง แหลม ส่วนใหญ่จะมีแค่ 3 ปุ่ม แต่บางรุ่นอาจมีถึง 10 ปุ่มเพื่อปรับอย่างละเอียด

    ปรีแอมป์ (Pre Amp)
  • เพาเวอร์แอมป์ (Power Amp) คือแอมป์ที่มีกำลังขยายสูง แต่ความเที่ยงตรงต่ำ (ความเพี้ยนสูง) ใช้ขยายสัญญาณที่ค่อนข้างแรง ที่ออกมาจากปรีแอมป์อีกที ถ้าสร้างแอมป์ให้มีความเพี้ยนต่ำ ก็จะแพงมหาศาลเช่นกัน เพาเวอร์แอมป์ นั้นจะไม่มีปุ่มอะไรเลย นอกจากปุ่มเปิด นอกจากบางรุ่นจะใส่ปรับเร่งความดังเสียง หรือปุ่มปรับ Balance ให้


    ดังนั้นเพื่อลดต้นทุน จึงใช้ปรีแอมป์ขยายสัญญาณ "อย่างเที่ยงตรง" ให้มีความแรงขึ้นมาสักหน่อยก่อน แล้วจึงให้เพาเวอร์แอมป์ขยายต่อให้ดัง ตรงนี้จะเพี้ยนบ้างก็ยอม และที่ความดังมากๆ จะเพี้ยนบ้าง เราก็แยกไม่ออก

    สมมุติเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร ถ้าจะถ่ายขยายจาก A5 -> A0 โดยภาพยังชัดมากๆ ก็ต้องใช้เลนส์ดีมากๆ ก็จะแพง เลยใช้วิธีถ่ายจาก A5 เป็น A3 ก่อน (ปรีแอมป์) แล้วค่อยเอา A3 ไปถ่ายเป็น A0 อีกที (แอมป์) ทีนี้ถ้าช่วง A5 -> A3 เพี้ยน ช่วง A3 -> A0 ก็ยิ่งเพี้ยนหนัก โดยงบประมาณที่จำกัด จึงยอมทำดีมากๆ แค่ช่วงแรกเท่านั้น

    ที่มา : คุณ จั๊กกะจี๋ ณ Pantip.com

  • อินทิเกรต แอมป์ (Integrated Amp) คือการเอาปรีแอมป์และเพาเวอร์แอมป์ มารวมกันไว้ในเครื่องเดียว จึงเอาเครื่องเล่นพวก CD หรือ เทป มาเสียบเครื่องนี้แล้วต่อลำโพงก็สามารถเล่นได้เลย สำหรับผู้ที่มีงบจำกัด อินทิเกรต แอมป์ จึงเป็นทางเลือกที่หน้าสนใจที่สุด

มารู้จัก Reciever กันก่อน Part.1

Reciever นะรึ เอาง่ายมันก็คือเครื่องขยายเสียงแบบหนึ่งที่รวมเอา ของอุปกรณ์หลายชิ้นมารวมกัน ไม่ว่าภาครับสัญญาณเสียง ภาคขายสัยญาณเสียง จูนเนอร์วิทยุ ภาคถอดรหัสเสียงดิจิตอน ภาคปรับแต่งสัญญาณ ฯ แล้วแต่ผู้ออกแบบจะสันหามาใส่แหละครับ ถามว่าแล้วมันต่างกับ mini compo ยังไง นั้นสิ เอาเป็นว่าที่ผมสังเกต เห็นเองนะ
  1. Reciever มันไม่มีลำโพงในตัวต้องหาแยกเอง
  2. Reciever มันไม่มีตัวเล่นแผ่น CD
  3. Reciever มันถอดรหัสสัญญาณภาพได้ พวกแผ่น VCD DVD
  4. Reciever มันดูหรูหรากว่า Mini Compo

Reciever
Reciever


mini compo
mini compo

ปฐมบทแห่งการเริ่มต้น

"ทำเอง ทำไม ซื้อมาราคาก็ถูกกว่าแถมสวยกว่าทำเองต้องเยอะ" นี่เป็นคำพูดที่ผมเจอมาประจำ ซึ่งเรื่องนี้มันก็น่าจะยอมรับจริงๆ เพราะการที่เขาทำในจำนวนมากๆ แล้วมีรูปแบบที่สามารถทำได้มันย่อมมี มาตราฐานและความสวยงามมากว่างานที่เราทำอยู่แล้ว แล้วถ้าประกอบกับเราไม่มีความรู้ความถนัดในเรื่องที่จะทำแล้วย่อมยากขึ้นไปอีกเป็นทวีคูณ

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้จบวิศวะไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอกนิกส์ แต่จบบริหารธุรกิจ (มันต่างกันนะเนี่ยมันจะทำได้เหรอ) แต่มันทำให้ผมอยากรู้จักว่าไอที่เราฟังกันเนี่ย ถ้าเราเริ่มทำเองมันจะได้สักเท่าไร และในใจตอนแรกคือราคามันต้องต่ำกว่าที่เขามีขาย จึงมาเป็นการ "D.I.Y My Reciever" เริ่มแรกที่ผมคิด คือผมได้ไปอ่านบทความหนึ่งของคุณ nitroboy จากเว็บ http://www.headphoneresearch.com ชื่อว่า (DIY) มาทำแอมพ์ CMOYแบบ hardwire กันเถอะ เสียงดี ทำง่าย ราคาไม่ไม่โดนแอมพ์นอกฟัน!!!!! จึงเป็นที่มาให้ผมคิดจะทำ แอมป์ซักตัวเพื่อใช้กับชุด Home Theater บ้านเพื่อเพิ่มช่องทางฟังเพลงในเสียงที่แปลกไปและประหยัดค่าไฟฟ้าด้วย จึงมองไปที่เจ้า CMOY บวกกับชุด Kit Power Amp ราคาไม่กี่ร้อยบาท แต่ก็อย่างว่าความต้องการของคนเรามันไม่มีสิ้นสุด เมื่ออ่านมากรู้มาก ก็ยิ่งคาดหวังสูงจากราคาไม่กี่ร้อยก็ขยับเป็นไม่กี่พันจนถึงหลักหมื่น ผมจึงหยุดแล้วเริ่มกลับมามองเริ่มต้นอีกครั้ง

และนี่คือที่มาว่าทำไมผมถึงเขียนบล็อกนี้ขึ้นก็เพื่อเป็นการเตือนสิ่งที่ตัวเองกำลังทำว่ามันไปถึงไหนแล้วราคาของเจ้าสิ่งนี้มันเป็นเท่าไรแล้ว บล็อกนี้ผมจะอัพเดจเรื่อยๆ จนกว่า โปรเจคนี้จะสมบูรณ์หรือมีปัญหาให้เลิกไปสักก่อน ผมคงไม่รีบทำให้เสร็จไปแต่จะทำไปเรื่อยด้วยเวลาหรือกำลังทรัพย์ที่อำนวย

ส่วนนี่คือรายการของสิ่งของที่ซื้อไปครับ รายการซื้อ