วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (อื่นๆ)

อิมแพค ( Impact )

จริงๆคำๆนี้ ถ้าใช้กับหูฟังต้องเทียบกับเสียงเบสจะเห็นภาพได้ชัดที่สุดค่ะ คือ จริงๆแล้วความหมายของ impact หมายถึง ต้นเสียงแรกที่มาถึงหูของเราน่ะค่ะ ฟังแล้วเหมือนจะงงๆ ปรกติในวงการนักเล่นเครื่องเสียงเค้ามักจะใช้คำว่า "หัวเสียง" ค่ะ ซึ่ง "หัวเสียง" มีส่วนสำคัญในการจำแนกชิ้นดนตรีๆมากเลยค่ะ เพราะขนาดของ "หัวเสียง" หรือ impact ของแต่ละชิ้นดนตรีจะต้องไม่เท่ากันค่ะ มวลที่ได้ต้องต่างกัน เช่น เสียงกระแทกกลอง หัวเสียงต้องเป็นมวลที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าการเคาะแฉ ซึ่งหัวเสียงของกลองจะต้องมาถึงหูเราช้ากว่าแฉ เพราะเป็นเสียงโทนต่ำ ถ้าเกิดมาถึงไวกว่า มิติเสียงดนตรีจะเพี้ยนทันทีเลยค่ะ และถ้าขนาดของหัวเสียงเท่ากันไปหมด ก็จะทำให้ชิ้นดนตรีมีสัดส่วนพิลึกทันทีเลยค่ะ จะขาดความเป็นธรรมชาติลงไปในทันที

ความใส ( Transparency )

ความใสก็คือความใสค่ะ อ๊ะๆ อย่าหาว่ากวนนะคะ เพราะในทางเครื่องเสียงแล้ว Tranparency จะหมายถึงความใสที่ลำโพงสร้างขึ้นมา ทำให้สามารถมองทะลุผ่านหลังแผงดิฟิวเซอร์เข้าไปได้เลยค่ะ เสมือนว่ามีเวทีจำลองตั้งอยู่ในดีฟิวเซอร์จนมองเห็น Image ชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนเราไปชมคอนเสิร์ตจริงๆทีเดียวค่ะ ถ้าในทางหูฟังก็หมายถึงหูฟังนั้น ใส จนจับ image ได้ชัดน่ะค่ะ ไม่มีอาการขุ่นมัวแบบมีม่านบางๆมีบังๆจนจับ image ได้ไม่ชัดเจนเลยน่ะค่ะ

Airy ( Ambient )

จริงๆ Airy กับ Ambient มีความหมายคล้ายๆกันค่ะ ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว Ambient จะหมายถึง การสะท้อนของเสียงที่เกิดตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น เวลาอยู่ในห้องแคบๆแล้วเราพูดออกมา เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจะถูกเรียกว่า Ambient ค่ะ ลักษณะของเสียงเกิดขึ้นจะมีทั้ง "เสียงรีเวิร์บ" และ " เสียงเอคโค่" ค่ะ

ถ้าจะให้อธิบายกันให้ละเอียด ลักษณะแบบ airy หรือ ambient ก็คือความรู้สึกที่เหมือนมีเสียงก้องสะท้อนเบาๆตามลักษณะอะคูสติกของห้อง เสียงเหล่านั้นจะทำให้เรารู้สึกว่ามันเปิดกว้าง โล่ง โปร่ง นั่นแหละค่ะ ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นจะให้ความรู้สึกว่ามีมวลอากาศห่อหุ้มอยู่ ถ้าไม่เคยฟังอาจจะนึกภาพตามไม่ออกน่ะค่ะ คือ อย่างจังหวะการสีไวโอลีน ถ้าห้องมีอะคูสติคที่ดี และมีการ set ลำโพงที่ได้ตำแหน่งถูกต้อง เราจะรับความรู้สึกได้เลยว่า นักดนตรีที่กำลังสีไวโอลีนตรงหน้าเหมือนมีมวลอากาศห่อหุ้มและลื่นไหลไปตาม จังหวะของการสี

ลักษณะเหล่านั้นเรามักเรียกกันว่า ชิ้นดนตรีมีแอมเบี๊ยนต์ห่อหุ้มอยู่

นอก จากนี้ ถ้าพูดถึง airy ก็จะหมายถึงชิ้นดนตรีที่ให้ความรู้สึกเปิดโล่ง ให้อารมณ์เหมือนมีอากาศรอดผ่านไหลเวียนในแต่ละชิ้นดนตรีค่ะ การมี airy หรือ ambient จะทำให้เราสัมผัสชิ้นดนตรีได้ชัดเจนมากขึ้น และยังให้ความรู้สึกถึงชีวิตชีวา หรือ live ของดนตรีอีกด้วยค่ะ

Blassy

ลักษณะของเสียงที่ออกจะเน้นไปทางเสียงด้านความถี่ต่ำมากกว่าเสียงกลางและ เสียงแหลม ค่ะ เวลาฟังจะรู้สึกว่าเสียงทุ้มๆจะดังล้ำหน้าเสียงอื่นๆเลยค่ะ ตัวอย่างของ Blassy ก็จะมีหูฟังของ Soken รุ่น AS-800 ค่ะ หรือไม่ก็การปรับ EQ เป็น V-Shape น่ะค่ะ

Blanketed

อันนี้หมายถึงเสียงที่อับ ทึบ เสียงแหลมโดนเกลาจนมน ไม่ใสกังวาล คล้ายๆกับเอาผ้าหนาๆมาบังลำโพงไว้ทำให้เสียงแหลมโดนบดบังซะเสียรูปเลยน่ะค่ะ

Bloated

เป็นอาการที่จะได้ยินก็ต่อเมื่อมีการให้ปริมาณของเสียงย่านความถี่ต่ำใน ช่วงของ Mid-Bass ( ช่วงประมาณ 250Hz ค่ะ ) มากจนเกินไป ทำให้เกิดเสียงทุ้มที่ไม่กระชับฉับไว เก็บตัวช้า เสียงจะสั่นไม่นิ่ง จนรู้สึกว่าเสียงดนตรีในย่านนั้นจะเบลอไม่คม

Blurred

เป็นอาการที่ตอบสนองความเร็วฉับพลันได้ไม่ดีค่ะ เสียงจะพร่าเลือน การโฟกัสมัวไม่ตรง ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นจะขาดความคมชัด เสียงกลางแทบจะจับไม่ได้เลยค่ะเพราะมันจะมัวมาก ( จริงๆไม่เห็นต้องอธิบายเลยเนอะค่ะ เบลอ นี่ใครๆก็รู้ ฮิฮิ )

Boomy

อันนี้จะเหมือน Bloated ค่ะ เพียงแต่จะเกิดขึ้นในย่านความถี่ต่ำกว่า Bloated ค่ะ คือจะเกิดในช่วง Lower-Bass ค่ะ ( ประมาณช่วง 125Hz) ถ้ามีทั้ง Boomy และ Bloated เกิดขึ้นพร้อมกัน เราจะเรียกว่า บวม อืด ค่ะ

Boxy

ส่วนมากจะเกิดกับลำโพงค่ะ เพราะลำโพงบางตัวออกแบบภายในไว้ไม่ดี ทำให้มีเสียงสะท้อนก้องภายในตู้ลำโพงออกมาปนกับเสียงดนตรี ทำให้เวลาฟังแล้วรู้สึกเสียงดังอู้ๆ ชวนให้หงุดหงิดค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (THD)

THD ( Total Harmonic Distortion )

ตัว THD จะหมายถึง ความเพี้ยนของกระแสสัญญานโดยรวมที่เกิดขึ้นทั้งระบบค่ะ โดยมากจะเป็นการวัดในภาคของ Output หรือกระแสขาออกนั่นเองค่ะ

ค่า THD มีผลสำคัญในเรื่องของเครื่องเสียงเป็นอย่างมากค่ะ ยิ่งค่า THD สูง ก็จะให้ความเพี้ยนของสัญญานเสียงด้วยเช่นเดียวกัน อัตราค่าของ THD จะถูกระบุไว้เป็นเปอร์เซนต์ และ อัตราของ THD ที่วงการระดับ Hi-Fi สามารถยอมรับได้จะอยู่ที่ 0.08% ลงไปค่ะ

ทีนี้ความสำคัญของ THD อยู่ตรงไหน ?

คืออย่างงี้ค่ะ โดยปรกติแล้ว กำลัง WATT นั้น โดยทั่วไปมักจะวัดค่ากันที่ 8 Ohms เพราะเป็นค่าความต้านทานของลำโพงในระดับที่ขายกันทั่วๆไปค่ะ เรียกว่าเป็นค่ากลางได้เลยค่ะ ทีนี้ ปัญหาก็มามีอยู่ว่า คนเราเวลาจะซื้อ amplifier เนี่ย ก็จะมองกันที่กำลังขับกันไว้ก่อนเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งขับได้สูงๆคนก็จะยิ่งเลือกไว้ก่อน เพราะกำลังขับสูงๆจะอัด Dynamic-Range ได้มากกว่าพวกกำลังขับต่ำๆ แล้วยิ่งได้เจอกับลำโพงโหดๆที่ขับยากๆอย่างลำโพงที่มีอัตรา Sensitivity ที่ประมาณ 80 กว่าๆ แล้วยังเป็นลำโพงแบบ Accoustic Suspension ที่เป็นระบบตู้ปิดอีก ทำให้กินกำลังวัตต์ค่อนข้างมาก คนเลยพากันซื้อ Amp ที่ให้กำลังขับสูงๆไว้ก่อนค่ะ

ทีนี้เจอแบบนี้เข้าไป พวกคนขายก็ย่อมขายของไม่ได้ ครั้นจะโกงบอกเลขกำลังวัตต์มั่วๆ ก็จะโดนประนามหยามเหยียดให้เสียน้ำใจจนขายของไม่ได้ต่อไป ดังนั้น เค้าจะใช้วิธีเลี่ยงง่ายๆ โดยการแสดงค่าตัวเลขกำลังวัตต์ที่ระดับ Ohms ต่ำลง เช่น

Amp ของ Magola Stat ปรกติให้กำลัง 20 Watts Perchannel ที่ 8 โอห์ม ทางนั้นก็จะเปลี่ยน SPEC มาเป็น

Amp ที่ให้กำลังวัตต์ 40 Watts (RMS )โดยอาจจะเติมตัวเลขๆที่มุมซองว่า at 4 ohms (RMS ) หรืออาจจะน่าเกลียดโดยเปลี่ยนตัวเลขเป็น 70 Watts (RMS) แทน แล้วเปลี่ยนตัวเลขมุมซองใหม่เป็น at 2 Ohms แทนค่ะ

ทีนี้ แค่นี้ยังไม่พอค่ะ เพราะเริ่มมีคนจับได้ว่าแกเล่นแอบๆใส่ Ohms ต่ำๆ แกก็เปลี่ยนเทนิคใหม่ค่ะ โดยการเปลี่ยนวิธีการโชว์ตัวเลขใหม่เป็น

Amp Magola Stat ให้กำลังขับที่ 100 Watts Perchannel ที่ 8 โอห์มด้วย แต่ มี 10% THD แถมท้าย

หมายความว่า ถ้าแอมป์ตัวนี้ส่งกำลังขับไปที่ 100 Watts เมื่อไหร่ สัญญานเสียงจะเพี้ยนทันที 10% ค่ะ กลายเป็นว่าเป็นวัตต์หลอกตากันอีกแล้ว ซึ่ง อัตรา THD สูงๆแบบนี้โดยมากจะเห็นในเครื่องเล่นแบบ Mini Component ที่ชอบใส่ค่าของ PMPO หรือ วัตต์เทียมนั่นแหละค่ะ

ดังนั้นเวลาเลือก ชุดเครื่องเสียงแต่ละครั้ง อย่าลืมดูค่า THD ที่เสมอนะคะ และดูกำลัง วัตต์ต่อ Channel ที่วัดค่ากันที่ 8 ohms ด้วยค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Harmonic)

Harmonic

ฮาร์โมนิคที่ใช้กันเยอะแยะนี่มันคืออะไรกันแน่น้า คืออย่างงี้ค่ะ เวลาเล่นดนตรีเนี่ย จะมีหลายๆครั้งที่มีชิ้นดนตรีที่เล่นตัวโน้ตเดียวกัน หรือ มีนักร้องสองคนขึ้นไป ที่เสียงร้องไปอยู่ที่ย่านความถี่เดียวกัน แต่ เราสามารถแยกออกได้ว่าเป็นเสียงใครร้องบ้าง และรับรู้ได้ว่าชิ้นดนตรีนั้นๆ เป็นเชลโล่ หรือ ไวโอลีน ที่เรียกกันว่า "โอเวอร์โทน" นั่นก็เพราะผลพวงจาก ฮาร์โมนิค เนี่ยแหละค่ะ

ฮาร์โมนิคนั้น จริงๆมันก็คือ ผลคูณของเลขจำนวนเต็มๆเลยของฮาร์โมนิคที่หนึ่ง (1st Harmonic ) หรืออีกชื่อที่เรียกกันว่า Fundamental Harmonic ที่หมายถึงความถี่พื้นฐานนั่นเองค่ะ ความถี่พื้นฐานก็พวก 2000Hz , 250Hz น่ะค่ะ ทีนี้พอมี Harmonic เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเราพูดถึง Harmonic ที่สอง มันก็จะต้องกลายเป็น

ความถี่พื้นฐาน X 2 เช่น 2000hz X 2 = 4000hz เป็นต้น

พอ เป็น Harmonic ที่สามก็จะกลายเป็น X ด้วย 3 และจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆใน Harmonic ที่สี่ ห้า... ทีนี่เมื่อมีการคูณฮาร์โมนิคสูงขึ้นไปเรื่อยๆก็จะทำให้แรงต่อสัญญาน หรือความแรงต่อสัญญาน ( Amplitude ) ลดลงจนเริ่มจับสัญญานเสียงของ Harmonic ที่ไปไกลๆเรื่อยๆไม่ได้

ดังนั้นถ้าจะให้สรุปสั้นๆ Harmonic ก็คือ สัญญานเสียงที่อยู่ในรูป Sinewave ให้เราตีค่าเป็นความถี่ได้นั่นเองค่ะ


ส่วน Distortion จะหมายถึงความเพี้ยนของสัญญานของกระแสค่ะ

ดังนั้น

Harmonic Distortion เลยจะหมายถึง อัตราความเพี้ยนของกระแสสัญญานเสียงค่ะ จริงๆมันจะละเอียดกว่านี้อีกค่ะ แต่ไม่ขออธิบายลึกซึ้งเกินไปนัก เพราะไม่ได้ใช้ และเดี๋ยวจะปวดหัวกันเปล่าๆ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Dynamic)

ไดนามิค-คอนทราสต์ ( Dynamic-Contrast )

คำนี้อาจจะได้ยินไม่ค่อยบ่อยนักสำหรับนักเล่นหูฟังทั่วๆไป เพราะไม่ค่อยจะมีคนพูดถึงกันซักเท่าไหร่นัก เนื่องจากส่วนมากมักจะฟังเพลงแนวสไตล์ร๊อค หรือไม่ก็เพลงป๊อป การจับไดนามิค-คอนทราสต์จึงจับได้ยากพอสมควร

แล้วมันหมายถึงอะไรล่ะ จริงๆมันหมายถึง การไต่ระดับเสียงของดนตรีที่ไล่ไปอย่างต่อเนื่องและละเอียดอ่อน ยกตัวอย่างง่ายๆก็พวกดนตรีประเภทสี อย่าง อืมม.. เอาเป็นไวโอนลีนแล้วกันค่ะ คือจังหวะการสีของไวโอลีนเพลงช้าๆ เวลาสีแล้วถอนคันชักช้าๆ เราก็จะได้ยินเสียงไล่โทนจากเสียงที่หนักแล้วก็ค่อยเบา เบา ไล่ตามจังหวะการสี ถ้าไดนามิค-คอนทราสต์ดีๆจะรับรู้ถึงจังหวะการบิดข้อมือช่วงที่สีด้วยค่ะ เพราะมันจะมีการไล่โทนเสียงที่ชัดเจนจนรับรู้ได้เลยค่ะ ถ้านึกภาพไม่ออกก็ลองดูที่ดนตรีประเภทเป่าอย่าง ขลุ่ย หรือ ฟลุ๊ท ก็ได้ค่ะ เวลามีเสียงขลุ่ย หรือ ฟลุ๊ทดังขึ้น ( เพลงช้าๆจะชัดหน่อยหน่อยค่ะ ) เสียงจะเลียดไล่ค่อยๆดังขึ้นจนสุด จากนั้นก็จะมีเสียงผ่อนถอนไล่ตามลงมาเบาๆ แล้วสูดลมหายใจช้าๆลึกๆ เพื่อเตรียมปลดปล่อยอารมณ์ของเสียงดันอัดเข้าไปในขลุ่ยอีกครั้ง จังหวะที่ปริมาณเสียงที่ลดลงไล่ต่อเนื่องสุดแสนจะ smooth นี่แหละค่ะ ไดนามิค-คอนทราสต์ แน่นอน ถ้ามีการกระโชก หรือการกระโดดของเสียง อย่างเช่น เสียงที่กำลังสีซออยู่ พอเข้าช่วงจังหวะถอนคันชักเตรียมจะโยกกดเบียดคันลงเข้าที่เส้นสายแล้วปรากฏ ว่า เสียงของจังหวะถอนคันมันบางเบาจนบางทีแทบไม่รู้เรื่อง อันนั้นเรียกว่า ไดนามิค-คอนทราสต์ไม่ดีค่ะ ส่วนมากจะเกิดกับลำโพงหรือหูฟังที่ยังเบิร์นไม่ได้ที่ และกับหูฟังหรือลำโพงคุณภาพไม่ดีค่ะ

ไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์

สำหรับไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์นั้น บางทีจะมาคู่กับไดนามิค-คอนทราสต์ค่ะ บางท่านจะสับสนเรียกรวมทั้งได้นามิค-คอนทราสต์และทรานเชี้ยนต์รวมๆกันไปเลย ค่ะ เพราะว่า ความหมายมันก็ถือว่าใกล้ๆกันมาก แล้วดนตรีบางชิ้นก็ให้ทั้งไดนามิค-คอนทราสต์และทรานเชี้ยนต์ที่ชัดเจนเลยค่ะ

ไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์คืออะไร ? ตัวทรานเชี้ยนต์นั้นหมายถึงการที่ระดับเสียงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเบาสุดไปดังสุด จากจุดต่ำสุดไปจุด peak อย่างเช่นจังหวะตีกลอง หรือเคาะ เป็นต้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่นเสียงระเบิดน่ะค่ะ จากเสียงเงียบๆ อยู่ๆก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นตูม!... ซึ่งสปีดการตอบสนองที่ดีของไดนามิค-ทรานเชี้ยนส์จะต้องไวสมจริง ถ้าเกิดไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์ไม่ดี แต่ไดนามิค-คอนทราสต์ดันดี คุณจะได้ยินเสียงระเบิดค่อยๆไล่สเตปอืดๆช้าๆ.. เช่น... ตต..ตตต....ตู..ตูม ตูมมมมมม มูมมม มุมมม มุม มุม... เรียกว่าอืดเป็นเรือเกลือเลยค่ะ อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ โดยมากจังหวะของไดนามิค-ทรานเชี้ยนต์ไม่ค่อยมีปัญหาหรอกค่ะ จะมีบางทีก็กับหูฟังที่ชอบแถมเบสเยอะๆ บางทีจะเก็บตัวช้าจนทำให้ไปกวนเสียงกลางเสียงอื่น ผลคือชิ้นดนตรีฟังจับ image ไม่ได้เลยค่ะ เสียงตีกันปนกันมั่วไปหมด ดังนั้น ไดนามิค-ทรานชี้ยนต์ที่ดีจะทำให้ชิ้นดนตรีมีความกระชับ ไม่ทิ้งเสียงเอื่อยเฉื่อยจนฟังแล้วดูอืดๆ
หรือ จังหวะช้าจนไปตีรวนชิ้นดนตรีอื่นๆค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Mid)

อิมเมจ ( Image )

มาเรื่อง Image กันบ้าง อิมเมจคืออะไร อิมเมจก็คือ ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นที่เราสามารถรับรู้และจับต้องได้ค่ะ ไม่ใช่เอามือไปหยิบได้นะคะ หมายถึงว่า ฟังแล้วรู้น่ะค่ะว่าเป็นเครื่องดนตรีอะไร ถ้าในเรื่องของเครื่องเสียงนั้น คำว่า Image จะครอบคลุมไปถึงขนาดของชิ้นดนตรีทีเดียวเชียวค่ะ เพราะ image ที่ดีของเครื่องเสียงนั้น นอกจากจะฟังชัด สัมผัสได้ เห็นชัดเจน ( ในมโนภาพ ) แล้ว ยังต้องให้ความรู้สึกเป็นชิ้นเป็นอันเป็นสามมิติ และมีขนาดของชิ้นดนตรีที่เท่าเทียมของจริงทีเดียว ว่าเข้าไปนั่น แต่ถ้าเคยเล่นพวกเครื่องเสียง Hi-Fi มา แล้ว set ตำแหน่งได้ดีๆ รับรองค่ะ จะได้สัมผัสสิ่งที่บอกมาหมดเลย

แต่ด้วยข้อจำกัดของหูฟัง ดังนั้นเลยต้องตัดขนาดของชิ้นดนตรีออก เพราะฟังให้ตายยังไงมันก็ไม่ได้ขนาดเท่าของจริงอยู่แล้วล่ะค่ะ เอาแค่สามารถจับได้ว่าเป็นชิ้นดนตรีอะไรก็เพียงพอแล้วค่ะ Image ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องของเสียงเบสด้วยนะคะ ซึ่งไม่ได้เป้นเสียงเบสจากกีต้าร์เบสอย่างเดียว แต่จะสามารถพูดถึงเสียงโทนต่ำที่ให้ Power ของเบสโดยรวมทีเดียวค่ะ

ดังนั้นสรุปเลยค่ะว่า Image หมายถึง ภาพพจน์ ภาพลักษณ์ที่สามารถสัมผัสได้ จับต้องได้ (ทางใจ) ซึ่งต้องเห็นเป็นชิ้นเป็นอันของดนตรีได้เลยค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Mid)

เสียงกลาง ( Mid , Mids , Mid-Range , Middle )

สิ่งที่หลายๆท่านเคยสงสัยกันว่า มันคืออะไร เสียงกลางเนี่ย เสียงที่วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดหรือ ? อ๊ะ อาจจะเป็นเสียงที่ลอยตัวอยู่กลางอากาศที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางของทั้งหมด ซึ่งจะอยู่ตรงช่วงจุดตัดของค่ารวมทั้งหมดของระยะ soundstage และ มิติเสียงกลาง..... เอ่อ เว่อร์ไปนิดเนอะคะ

แล้วเสียงกลางมันคืออะไรกันล่ะ ถ้าพูดกันง่ายๆภาษาบ้านๆนะคะ เสียงกลางก็คือ เสียงที่อยู่ตรงกลางนั่นแหละค่ะ เสียงทั้งหมดที่อยู่แถว Zone กลางของหน้าเราเวลาฟังเพลงเนี่ยแหละค่ะเสียงกลาง สาเหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะว่า เสียงที่ไต่ระดับอยู่ที่ 100Hz-3KHz หรือ 160-1,500 Hz ที่เป็นช่วงของเสียงที่ให้ระดับเสียงกลางๆนั้น โดยมากจะเป็นเสียงร้องค่ะ จริงๆชิ้นดนตรีอื่นๆก็มีโทนเสียงในระดับกลางเช่นกัน แต่เสียงร้องมักจะถูกนำมาวางไว้ตรงกลางมากที่สุดค่ะ ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ เสียงกลางคือเสียงตรงกลาง ที่ไม่ใช่เสียงสูง หรือเสียงต่ำอย่างเบสค่ะ ต้องเป็นเสียงที่ให้โทนกลางๆเลยค่ะ ก็ให้จำไว้ว่า เสียงกลาง นอกจากไม่สูงไม่ต่ำแล้ว ส่วนใหญ่จะมาอยู่กันช่วงกลางๆเลยค่ะ

และด้วยเหตุผลที่เสียงกลางโดยมากจะเป็นเสียงร้อง ดังนั้นจึงมีคำขยายเพื่ออธิบายของเสียงกลางอีกค่ะ โดยแบ่งเป็น

ขึ้นจมูก( NASAL ) ลองนึกภาพคนเป็นหวัด หรือเวลาเราบีบจมูกแล้วพูดออกมาดูค่ะ เสียงขึ้นจมูกของเสียงกลางจะออกเป็นลักษณะแบบนั้น เสียงจะอู้ๆ ก้องๆ ฟังแล้วไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

เจิดจ้า , เด่น , พุ่ง หมายถึงอาการของเสียงกลางที่จะโดดนำเสียงอื่นๆออกมาเลยค่ะ กลายเป็นว่าเสียงอื่นๆฟังดูด้อยไปพิลึก เล่นเอา balance เสียไปหมดเลยค่ะ ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ ลองหาเพลง "เถียงกันทำไม" จากอัลบั้ม " ธงไชย วิลเลจ" มาลองฟังดูค่ะ จะเข้าใจตรงนี้ได้ง่ายมาก

Chesty ( ไม่รู้จะแปลว่าไงดีค่ะ ) คือ จะหมายถึงเสียงร้องที่มีขนาดใหญ่ผิดปรกติ ประหนึ่งว่านักร้องท่านนั้นมีปอดแบบไม่ธรรมดา จนกลายเป็นว่าช่วงความถี่กลางต่ำ ( ประมาณ 250Hz-125Hz ) ถูกอัดขยายขึ้นมาเด่นมากจนกินย่านอื่นไปซะส่วนใหญ่ เสียงร้องอย่างเสียงผู้ชายเลยจะออกห้าวๆ ลึกๆ เกินจริง แต่มันก็จะให้รู้สึกว่าเสียงกลางอวบและอิ่ม ฟังดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นค่ะ บางท่านก็จะชอบแบบนี้

โปร่ง ก็คืออาการของเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกว่าโล่ง โปร่ง สบาย ฟังแล้วไม่รู้สึกอับเหมือนอยู่ในห้องแคบๆ โดยมากเสียงโปร่งๆจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ไม่มีเสียงอื่นเสียงใดมารบกวนเสียงที่เรากำลังรับชม เพราะลักษณะของคลื่นเสียงจากลำโพงที่ตรงเข้ามาหาเราจะไม่ถูกรบกวนด้วยคลื่น เสียงจากที่อื่น เมื่อใดก็ตามที่มีคลื่นเสียงอื่นนอกเหนือจากเสียงที่มาจากลำโพงตรงๆ ไม่ว่าจะด้วยอคูสติคของห้องที่ไม่ดี ไม่มีแผงดิฟิวเซอร์* หรือใช้ absorb มากเกินไป เรียกว่าใส่ซะจนเป็นห้องอัดเสียงใน Studio เหล่านี้ จะทำให้สัญญานเสียงเปลี่ยนไปหมด
ในแง่ของหูฟัง ในเรื่องของความโปร่งนั้นจะขึ้นอยู่กับบุคลิกของหูฟังที่ให้มาค่ะ ปัจจัยภายนอกอย่างอื่นจะไม่เกี่ยวข้องเลยค่ะ มักจะอยู่ที่การออกแบบหูฟังของแต่ละบริษัท และยังสามารถขึ้นอยู่กับ แอมป์ และ Player อีกด้วยค่ะ

* ดิฟิวเซอร์คือแผงที่มีขึ้นเพื่อเคลียร์คลื่นเสียงไม่ให้สะท้อนออกไปในปริมาณ ที่มากเกินไป ลักษณะจะเป็นแผงเหมือนชั้นหนังสือค่ะ แต่จะเป็นแนวกระดานแบบเส้นตรงไม่ใช่แนวนอนเหมือนชั้นหนังสือ แล้วจะวางไว้ค่อนข้างชิดกัน แต่ก็จะมีระยะห่างที่พอควร โดยปรกติจะเป็นที่นิยมมากกว่าพวก absorb ( absorb จะเป็นตัวดูดซับสัญญานค่ะ ทำหน้าที่เหมือนดิฟิวเซอร์ แต่ถ้าติดมากเกินไปจะทำให้เสียงที่ได้รู้สึกอับๆค่ะ ) เพราะทำให้รับ image ได้ชัดเจนเหมือนกัน แต่ห้องไม่อับ เสียงที่ได้จะโปร่งกว่าเยอะค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com

คำศัพท์ในเรื่องของเสียง (Soundstage)

Soundstage
Soundstage ( ซาวนด์เสตจ ) คืออะไร ? ในหนังสือส่วนใหญ่มักจะเขียนไว้ว่า อาณาเขตโดยรอบที่อิมเมจหรือตัวเสียงทั้งหมดเรียงตัวอยู่ในอากาศ* อ่านแล้วงงไม๊คะ มันอะไรกันน้า เสียงที่เรียงตัวอยู่ในอากาศเนี่ย คืออย่างงี้ค่ะ ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่อง soundstage เนี่ย ต้องพูดเรื่องระยะประกอบกันไปด้วย โดยปรกติแล้วการฟังเพลงด้วยหูฟังจะค่อนข้างอธิบายได้ง่ายค่ะ เนื่องจากจะเห็นได้ชัดเจนกว่าการฟังจากลำโพง

จริงๆแล้ว Soundstage นั้นหมายถึง สุดขอบที่ชิ้นดนตรีจะสามารถเล่นได้ถึง หรือ แสดงเสียงได้ถึงนั่นเอง อาจจะฟังดูงงๆอยู่ ถ้าจะให้ง่ายกว่านี้ ให้ลองหยิบหูฟังขึ้นมาค่ะ แล้วลองฟังดู ตำแหน่งของเสียงที่ไกลที่สุดที่ได้ยินจากหูฟัง นั่นแหละค่ะคือระยะของ soundstage

โดยปรกติแล้ว Soundstage จะถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 อย่างคือ

- Soundstage ด้านกว้าง
- Soundstage ด้านลึก

แล้วมันต่างกันยังไงล่ะ??

คือ Soundstage ด้านกว้างเนี่ย จะหมายถึง ความกว้างของเสียงที่ออกไปทางด้านซ้ายและขวา ลองหยิบหูฟังขึ้นมาฟังอีกทีค่ะ อ้าวฟังอยู่เหรอคะ โทษทีค่ะไม่ทันมอง ฮิฮิ
ทีนี้เปิดเพลงนะคะ แล้วลองกางแขนออกกว้างๆเลยค่ะ นั่นแหละค่ะ soundstage ด้านกว้าง ทั้งนี้ soundstage ด้านกว้างสำหรับหูฟังนั้น มักจะถูกเรียกรวมว่าเป็น Soundstage เฉยๆค่ะ ส่วน Soundstage ด้านลึกจะถูกเรียกเป็นมิติแทนค่ะ เนื่องจากหูฟังไม่สามารถจับ Transparency หรือความโปร่งใสได้เหมือนกับลำโพงค่ะ ดังนั้นการจะพูดถึงความเป็นสามมิติแยกออกจาก soundstage ด้านลึกก็เห็นจะไม่สมควรค่ะ ดิฉันลงความเห็นว่าควรจะเรียกรวมไปเลยเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อคนฟัง ด้วย

ส่วน Soundstage ด้านลึก นั้น จะหมายถึง เสียงชิ้นดนตรีที่ไกลที่สุดที่ได้ยินจากข้างบนหัวของเรา หรือก็คือ มิติของเสียงกลางนั่นแหละค่ะ Soundstage ด้านลึกที่ดีจะสามารถแยกให้เห็นชิ้นดนตรีได้ชัดเจน ไม่มีการตีกันให้พร่ามัวจนสัมผัสเสียงของดนตรีแต่ละชิ้นไม่ได้

Soundstage อาจจะถูกถามเป็นประเดนแรกสำหรับการฟังหูฟังทีเดียวเชียวค่ะ เพราะถ้าหูฟังที่ให้ Soundstage ดีๆก็ย่อมจะให้มิติของชิ้นดนตรีที่ดีตามไปด้วยค่ะ แต่ข้อเสียของหูฟังที่ Soundstage กว้างๆก็จะอยู่ที่การให้ Dynamic ที่ไม่อิ่มเท่ากับหูฟังที่ Soundstage อยู่ในขอบเขตไม่กว้างขวางนัก เนื่องจากเป็นข้อจำกัดทางด้านเทคนิคค่ะ

เขียนโดย StaxFire จากเว็ป Pantip.com